บทความ > ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568 จ่ายเมื่อไหร่ ใครบ้างที่เสีย
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568 ศรีสวัสดิ์
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568 จ่ายเมื่อไหร่ ใครบ้างที่เสีย

สนใจขอสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติไว


ข้าพเจ้าให้ความยินยอมกับบริษัทฯ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าในการติดต่อเพื่อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ


สนใจทำประกัน ผ่อนเงินสด ไม่มีดอกเบี้ย

ข้าพเจ้าให้ความยินยอมกับบริษัทฯ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าในการติดต่อเพื่อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ


ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568 จ่ายเมื่อไหร่ ใครบ้างที่เสีย

การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568 จ่ายเมื่อไหร่ เป็นคำถามที่คนมีที่ดินหลายคนอาจสงสัย วันนี้ ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ จะมาอธิบายให้กับทุกคนที่มีที่ดิน ได้ทำความเข้าเรื่องประเภทของภาษี และอัตราการจัดเก็บ พร้อมขั้นตอนการจ่ายภาษีแบบครบจบ เข้าใจง่าย และทำตามได้ทันที

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568 จ่ายเมื่อไหร่

หลายคนกำลังสงสัยว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568 จ่ายเมื่อไหร่ ซึ่งเราสามารถประมาณระยะเวลาที่ต้องจ่ายภาษีได้ โดยอ้างอิงจากข้อมูลปี 2567 ทางภาครัฐได้ปรับเปลี่ยนระยะเวลาการจัดเก็บใหม่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องจัดทำบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างภายในมกราคม 
  • ประกาศราคาประเมินทุนทรัพย์ก่อน 1 เมษายน
  • แจ้งการประเมินภาษีภายในเดือนเมษายน
  • ผู้เสียภาษีต้องชำระภายในเดือนมิถุนายน 
  • กรณีภาษีเกิน 3,000 บาท สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวด
    • งวดที่ 1 : ภายในมิถุนายน
    • งวดที่ 2 : ภายในกรกฎาคม 
    • งวดที่ 3 : ภายในสิงหาคม

ใครบ้างที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะมีทั้งหมด ดังนี้ 

  1. เจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตามทะเบียนกรรมสิทธิ์
  2. ผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของรัฐ
  3. ผู้เช่าซื้อที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
  4. ผู้ทรงสิทธิการเช่าที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
  5. ผู้มีชื่อถือครองทรัพย์สิน ณ วันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น

พาทำความเข้าใจ “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” คืออะไร

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่บุคคล หรือนิติบุคคลเป็นเจ้าของ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้จัดเก็บเพื่อนำไปพัฒนาท้องถิ่น 

4 ประเภทภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามกฎหมาย

กฎหมายได้แบ่งประเภทการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกเป็น 4 ประเภท โดยแต่ละประเภทมีอัตราภาษีและเงื่อนไขการจัดเก็บที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อความเป็นธรรม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดิน เรามาดูกันว่าแต่ละประเภทมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง

1. ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย

  • อัตราภาษีสูงสุดไม่เกิน 0.3% ของมูลค่าทรัพย์สิน
  • บ้านหลังหลักที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาและมีชื่อในทะเบียนบ้าน
    • มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
    • มูลค่า 50-75 ล้านบาท เสียภาษี 0.03%
    • มูลค่า 75-100 ล้านบาท เสียภาษี 0.05%
    • มูลค่าเกิน 100 ล้านบาท เสียภาษี 0.1%
    • มูลค่าเกิน 100 ล้านบาท เสียภาษี 0.1%
  • บ้านหลังที่สอง
    • ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี
    • เสียภาษีตั้งแต่บาทแรกในอัตรา 0.02-0.1%
  • กรณีเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง (เช่น คอนโด)
    • ได้รับยกเว้น 10 ล้านบาทแรก
    • ส่วนเกินเสียภาษีตามอัตราปกติ

2. ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม

  • อัตราภาษีสูงสุดไม่เกิน 1.2% ของมูลค่าทรัพย์สิน
  • แบ่งตามมูลค่าทรัพย์สิน
    • มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท เสียภาษี 0.3%
    • มูลค่า 50-200 ล้านบาท เสียภาษี 0.4%
    • มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท เสียภาษี 0.5%
    • มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท เสียภาษี 0.6%
    • มูลค่าเกิน 5,000 ล้านบาท เสียภาษี 0.7%
  • ครอบคลุมกิจการ
    • โรงแรม รีสอร์ต
    • ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า
    • อาคารสำนักงาน
    • อพาร์ตเมนต์ หอพัก
    • สถานบริการต่างๆ

3. ที่ดินเพื่อการเกษตร

  • อัตราภาษีสูงสุดไม่เกิน 0.15% ของมูลค่าทรัพย์สิน
  • สิทธิพิเศษสำหรับบุคคลธรรมดา
    • มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
    • มูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ยกเว้น 50 ล้านบาทแรก
  • อัตราการจัดเก็บ
    • มูลค่าไม่เกิน 75 ล้านบาท เสียภาษี 0.01%
    • มูลค่า 75-100 ล้านบาท เสียภาษี 0.03%
    • มูลค่า 100-500 ล้านบาท เสียภาษี 0.05%
    • มูลค่า 500-1,000 ล้านบาท เสียภาษี 0.07%
    • มูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท เสียภาษี 0.1%
  • ต้องมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรอย่างถูกต้อง

4. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า 

  • อัตราภาษีสูงสุดไม่เกิน 3% ของมูลค่าทรัพย์สิน
  • อัตราการจัดเก็บพื้นฐาน
    • มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท เสียภาษี 0.3%
    • มูลค่า 50-200 ล้านบาท เสียภาษี 0.4%
    • มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท เสียภาษี 0.5%
    • มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท เสียภาษี 0.6%
    • มูลค่าเกิน 5,000 ล้านบาท เสียภาษี 0.7%
  • บทลงโทษพิเศษ
    • ทิ้งรกร้าง 3 ปีติดต่อกัน เพิ่มอัตราภาษี 0.3%
    • เพิ่มขึ้นอีก 0.3% ทุก 3 ปี
    • รวมแล้วต้องไม่เกิน 3%

เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออนไลน์ได้ไหม

ในปัจจุบัน การเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สามารถจ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ว่าจะเป็นการชำระผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร ผ่านการสแกน QR Code Payment ที่ได้รับจากแบบฟอร์มธนาคารในการจ่ายภาษี 

หากเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างช้า มีค่าปรับเท่าไหร่ 

การชำระภาษีล่าช้าจะมีบทลงโทษและค่าปรับ ดังนี้

เบี้ยปรับ

  • ชำระก่อนได้รับหนังสือแจ้งเตือน : เสียเบี้ยปรับ 10%
  • ชำระภายในกำหนดหนังสือแจ้งเตือน : เสียเบี้ยปรับ 20%
  • ชำระเกินกำหนดหนังสือแจ้งเตือน : เสียเบี้ยปรับ 40%

เงินเพิ่ม

  • คิดอัตรา 1% ต่อเดือนของภาษีค้างชำระ
  • เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน
  • มีเพดานสูงสุดไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระ

ความผิดทางอาญา

  • กรณีจงใจหลีกเลี่ยงการชำระภาษี
  • โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท
  • หรือทั้งจำทั้งปรับ

สรุปบทความ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568 จ่ายเมื่อไหร่ 

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568 จ่ายเมื่อไหร่นั้น ถือเป็นหน้าที่สำคัญที่เจ้าของทรัพย์สินต้องให้ความใส่ใจ เพราะนอกจากจะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญขึ้นด้วย ส่วนใครที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อน ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ มาพร้อม สินเชื่อบ้านและที่ดิน ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณ ด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 40 ปีในวงการสินเชื่อ และทีมงานมืออาชีพที่พร้อมให้คำปรึกษา เราคือคำตอบสำหรับทุกเป้าหมายทางการเงินของคุณ ที่พร้อมเติบโต คู่ชาวไทย ผ่านคติการทำงาน มั่นใจ โปร่งใส และถูกกฎหมาย หากสนใจบริการสินเชื่อ สามารถติดต่อได้ที่ ศ. ศาลาสีส้ม ทุกสาขาใกล้บ้านคุณ หรือ www.sawad.co.th LINE Official: @srisawad และ โทร. 1652 เพื่อรับคำปรึกษาฟรีแบบไม่มีค่าใช้จ่าย

หมายเหตุ

  • สินเชื่อบ้านที่ดิน อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 14.61% – 15.00% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนสูงสุด 72 งวด
  • กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว 
  • เงื่อนไขอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด

Share This