บทความ > ต่อภาษีรถยนต์ราคาเท่าไหร่ อัปเดตล่าสุด 2568
ต่อภาษีรถยนต์ราคาเท่าไหร่ อัปเดตล่าสุด 2568
ต่อภาษีรถยนต์ราคาเท่าไหร่ อัปเดตล่าสุด 2568

สนใจขอสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติไว


ข้าพเจ้าให้ความยินยอมกับบริษัทฯ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าในการติดต่อเพื่อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ


สนใจทำประกัน ผ่อนเงินสด ไม่มีดอกเบี้ย

ข้าพเจ้าให้ความยินยอมกับบริษัทฯ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าในการติดต่อเพื่อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ


ต่อภาษีรถยนต์ราคาเท่าไหร่ อัปเดตล่าสุด 2568

การต่อภาษีรถยนต์เป็นหน้าที่สำคัญของเจ้าของรถทุกคน เพื่อความปลอดภัยและถูกกฎหมายในการใช้รถบนท้องถนน บทความนี้ ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ จะมาอัปเดตข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับราคาการต่อภาษีรถยนต์ในปี 2568 และต่อ พ.ร.บ. ภาษีรถเก๋ง ราคากี่บาท พร้อมให้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับเจ้าของรถทุกประเภท

การต่อภาษีรถยนต์คืออะไร

การต่อภาษีรถยนต์ คือ การชำระค่าธรรมเนียมประจำปีให้กับกรมการขนส่งทางบก เพื่อรักษาสิทธิ์ในการใช้รถบนท้องถนนอย่างถูกกฎหมาย เงินภาษีนี้จะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ปรับปรุงถนน และสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง

รถแต่ละประเภทต่อภาษีรถยนต์ราคาเท่าไหร่

ราคาการต่อภาษีรถยนต์จะแตกต่างกันไปตามประเภทของรถ ขนาดเครื่องยนต์ และน้ำหนักของรถ ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้

1. รถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไป (ป้ายทะเบียนพื้นสีขาว ตัวหนังสือสีดำ)

สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถเก๋ง การคำนวณราคาต่อภาษีจะคำนวณจากขนาดของเครื่องยนต์ (ซีซี) ดังนี้

  • 600 ซีซีแรก คิดซีซีละ 0.50 บาท
  • 601–1,800 ซีซี คิดซีซีละ 1.50 บาท
  • 1,801 ซีซีขึ้นไป คิดซีซีละ 4 บาท

นอกจากนี้ ยังมีส่วนลดสำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปีขึ้นไป โดยจะเสียภาษีลดลงตามสัดส่วน ดังนี้:

  • รถยนต์อายุเกิน 6 ปี ได้รับส่วนลด 10%
  • รถยนต์อายุเกิน 7 ปี ได้รับส่วนลด 20%
  • รถยนต์อายุเกิน 8 ปี ได้รับส่วนลด 30%
  • รถยนต์อายุเกิน 9 ปี ได้รับส่วนลด 40%
  • รถยนต์อายุเกิน 10 ปี ได้รับส่วนลด 50%

ตัวอย่างการคำนวณ: รถเก๋งอายุ 7 ปี ขนาดเครื่องยนต์ 1,500 ซีซี

  • 600 ซีซีแรก: 600 x 0.5 = 300 บาท
  • 601-1,500 ซีซี: (1,500 – 600) x 1.50 = 1,350 บาท
  • รวม: 300 + 1,350 = 1,650 บาท
  • ส่วนลด 20% เนื่องจากอายุ 7 ปี: 1,650 – (1,650 x 20%) = 1,320 บาท

ดังนั้น ราคาต่อภาษีรถเก๋ง 1500 cc ราคา สำหรับรถเก๋งอายุ 7 ปี คือ 1,320 บาท

2. รถบรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ป้ายทะเบียนพื้นสีขาว ตัวหนังสือสีเขียว)

สำหรับรถยนต์ขนาดใหญ่ เช่น รถกระบะ 2 ประตู รถบรรทุก หรือรถตู้ขนส่งสินค้า การคำนวณภาษีจะใช้น้ำหนักรถยนต์เป็นเกณฑ์

  • น้ำหนักรถ 0-500 กก.: 300 บาท
  • น้ำหนักรถ 501-750 กก.: 450 บาท
  • น้ำหนักรถ 751-1,000 กก.: 600 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,001-1,250 กก.: 750 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,251-1,500 กก.: 900 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,501-1,750 กก.: 1,050 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,751-2,000 กก.: 1,350 บาท
  • น้ำหนักรถ 2,001-2,500 กก.: 1,650 บาท
  • น้ำหนักรถ 2,501-3,000 กก.: 1,950 บาท

3. รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ป้ายทะเบียนพื้นสีขาว ตัวหนังสือสีน้ำเงิน)

สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถตู้ การคำนวณราคาต่อภาษีจะใช้น้ำหนักรถเป็นเกณฑ์เช่นกัน แต่มีอัตราที่แตกต่างออกไป:

  • น้ำหนักรถไม่เกิน 1,800 กก.: 1,300 บาท
  • น้ำหนักรถเกิน 1,800 กก.: 1,600 บาท

อัปเดตค่าต่อภาษีรถยนต์ไฟฟ้า 2568

รัฐบาลได้ประกาศมาตรการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้ลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าลง 80% ของอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนรถ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้

1. ภาษีรถยนต์ไฟฟ้านั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง (ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65 – 30 ก.ย. 68)

อัตราภาษีตามน้ำหนักรถ

  • ไม่เกิน 500 กก.: 30 บาท
  • 501-750 กก.: 60 บาท
  • 751-1,000 กก.: 90 บาท
  • 1,001-1,250 กก.: 160 บาท
  • 1,251-1,500 กก.: 200 บาท
  • 1,501-1,750 กก.: 260 บาท
  • 1,751-2,000 กก.: 330 บาท
  • 2,001-2,500 กก.: 380 บาท
  • 2,501-3,000 กก.: 440 บาท
  • 3,001-3,500 กก.: 480 บาท
  • 3,501-4,000 กก.: 520 บาท
  • 4,001-4,500 กก.: 560 บาท
  • 4,501-5,000 กก.: 600 บาท
  • 5,001-6,000 กก.: 640 บาท
  • 6,001-7,000 กก.: 680 บาท
  • มากกว่า 7,001 กก.: 720 บาท

2. ภาษีรถยนต์ไฟฟ้านั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65 – 30 ก.ย. 68)

อัตราภาษีตามน้ำหนักรถ

  • ไม่เกิน 500 กก.: 15 บาท
  • 501-750 กก.: 30 บาท
  • 751-1,000 กก.: 45 บาท
  • 1,001-1,250 กก.: 80 บาท
  • 1,251-1,500 กก.: 100 บาท
  • 1,501-1,750 กก.: 130 บาท
  • 1,751-2,000 กก.: 160 บาท
  • 2,001-2,500 กก.: 190 บาท
  • 2,501-3,000 กก.: 220 บาท
  • 3,001-3,500 กก.: 240 บาท
  • 3,501-4,000 กก.: 260 บาท
  • 4,001-4,500 กก.: 280 บาท
  • 4,501-5,000 กก.: 300 บาท
  • 5,001-6,000 กก.: 320 บาท
  • 6,001-7,000 กก.: 340 บาท
  • มากกว่า 7,001 กก.: 360 บาท

เอกสารในการต่อภาษีรถยนต์

การเตรียมเอกสารต่อภาษีรถยนต์ให้ครบถ้วนจะช่วยให้กระบวนการต่อภาษีรถยนต์เป็นไปอย่างราบรื่น เอกสารที่จำเป็นประกอบด้วย

  • สมุดคู่มือจดทะเบียน หรือ สำเนาทะเบียนรถยนต์
  • เอกสาร พ.ร.บ. รถยนต์ที่ยังไม่หมดอายุ (เหลือวันหมดอายุมากกว่า 90 วัน)
  • ใบตรวจสภาพรถยนต์ สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี
  • ใบรับรองการติดตั้งแก๊ส สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส

ช่องทางการต่อภาษีรถยนต์

ปัจจุบันมีหลายช่องทางให้เลือกในการต่อภาษีรถยนต์ เพื่อความสะดวกของเจ้าของรถ

  • สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ
  • จุดบริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax)
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
  • ที่ทำการไปรษณีย์
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  • เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th 

สรุปการต่อภาษีรถยนต์ 2568

สุดท้ายนี้ หลังจากที่ได้รู้กันไปแล้วว่าต่อ พ.ร.บ. + ภาษี รถเก๋ง ราคาเท่าไหร่ ซึ่งการต่อภาษีรถยนต์เป็นหน้าที่สำคัญของเจ้าของรถทุกคน นอกจากจะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมของประเทศ ในปี 2568 นี้ มีการปรับปรุงอัตราภาษีและเพิ่มช่องทางการชำระภาษีให้สะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับการสนับสนุนผ่านการลดหย่อนภาษี

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาทางเลือกในการจัดการเรื่องการเงินเกี่ยวกับรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการต่อภาษี หรือการทำประกันรถยนต์ ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ พร้อมให้บริการด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ด้วยบริการประกันรถยนต์จากบริษัทชั้นนำ ที่ครอบคลุมและตอบโจทย์ทุกความต้องการ พร้อมทั้งข้อเสนอพิเศษ ผ่อนเงินสด 0% นานสูงสุด 12 งวด ทำให้การดูแลรถยนต์ของคุณเป็นเรื่องง่ายสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศ.ศาลาสีส้มทุกสาขาใกล้บ้านคุณ หรือผ่านช่องทางออนไลน์ที่ www.sawad.co.th LINE Official: @srisawad และโทร. 1652 เพื่อรับคำปรึกษาฟรีแบบไม่มีค่าใช้จ่าย

Share This