ปัญหาโฉนดที่ดินหาย แม้จะเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็นับว่าค่อนข้างวุ่นวายเลยทีเดียว เพราะหลายคนไม่รู้ว่า เมื่อโฉนดที่ดินหายควรทำยังไง ต้องแจ้งความไหม หรือไปดำเนินเรื่องที่สำนักงานที่ดินได้เลย วันนี้ ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ จะมาอธิบายเรื่องโฉนดที่ดินหายให้แบบครบ ๆ ในทุกขั้นตอนเอง
โฉนดที่ดินหายควรทำยังไงดี
เมื่อพบว่าโฉนดหาย สิ่งแรกที่ต้องทำคือการแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจในท้องที่ทันที หลายคนสงสัยว่าโฉนดที่ดินหายทํายังไง ขั้นตอนแรกคือต้องเก็บรวบรวมหลักฐานที่มีทั้งหมด แม้กระทั่งสำเนาเก่า ๆ เพื่อง่ายต่อการดำเนินเรื่อง จากนั้นจึงนำหลักฐานไปติดต่อสำนักงานที่ดินเพื่อขอออกใบแทน
หากโฉนดที่ดินหาย ไม่มีสำเนา ทำใหม่ได้ไหม
กรณีโฉนดที่ดินหายแต่ไม่มีสำเนา สามารถขอออกใบแทนได้โดยไม่ต้องกังวล เพราะสำนักงานที่ดินมีฐานข้อมูลต้นฉบับเก็บไว้ แต่ต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คนมารับรอง และยืนยันความเป็นเจ้าของ รวมถึงต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่อย่างละเอียด
รู้จักกับ “ใบแทน” เมื่อทำโฉนดที่ดินหาย
เมื่อโฉนดหาย เจ้าของที่ดินจะได้รับ “ใบแทน” ซึ่งมีสถานะทางกฎหมายเทียบเท่าโฉนดที่ดินฉบับเดิมทุกอย่าง เพราะสามารถใช้ทำนิติกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ โดยการออกใบแทนจะมีการบันทึกประวัติการออกใบแทนไว้ในระบบของกรมที่ดินด้วย
ขั้นตอนการขอออกใบแทนเมื่อทำโฉนดหาย
เมื่อรู้กันแล้วว่า โฉนดที่ดินหายทำใหม่ได้ไหม ทีนี้เราจะพามาดูขั้นตอนในการขอออกใบแทนกันต่อว่ามีอะไรบ้าง
1. ลงบันทึกแจ้งความที่สถานีตำรวจ
เมื่อรู้ว่าโฉนดที่ดินหาย ต้องรีบไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่ทันที เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าโฉนดที่ดินหายจริง และไม่ได้นำไปทำธุรกรรมใด ๆ เช่น จำนอง หรือขายฝาก ซึ่งใบแจ้งความนี้จะเป็นเอกสารสำคัญในการขอออกใบแทน
2. ติดต่อสำนักงานที่ดินพร้อมหลักฐานแจ้งความ
เมื่อได้ใบแจ้งความมาแล้ว ให้นำไปติดต่อที่สำนักงานที่ดินในเขตที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ โดยในกรณีโฉนดที่ดินหาย ไม่มีสำเนา ทางสำนักงานที่ดินจะตรวจสอบข้อมูลจากฐานข้อมูลทะเบียนที่ดิน เพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของ
3. ยื่นคำร้องพร้อมพยานรับรอง 2 คน
ในขั้นตอนการยื่นคำร้อง จะต้องนำพยาน 2 คนที่น่าเชื่อถือมารับรองต่อเจ้าหน้าที่ด้วย ซึ่งพยานต้องสามารถยืนยันได้ว่าผู้ขอเป็นเจ้าของที่ดินจริง และไม่ได้นำโฉนดไปทำธุรกรรมใด พร้อมกับนำบัตรประชาชนมาแสดง และลงลายมือชื่อในเอกสารรับรอง
4. กรอกเอกสารพร้อมลายเซ็นต่อพนักงานที่ดิน
หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่จะให้กรอกแบบฟอร์มคำขอออกใบแทน พร้อมลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าพนักงาน จากนั้นจะมีการติดประกาศ 30 วัน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียคัดค้าน
เอกสารที่ใช้ขอออกใบแทนเมื่อทำโฉนดที่ดินหาย
การเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนนั้นสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้ขั้นตอนการออกใบแทนเป็นไปอย่างราบรื่น โดยจะแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
กรณีโฉนดสูญหาย
- ใบแจ้งความ
- บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอ
- เอกสารการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
- พยาน 2 คนพร้อมบัตรประชาชน
กรณีโฉนดชำรุด
- โฉนดที่ชำรุด
- บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
- เอกสารการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
ค่าใช้จ่ายในการขอออกใบแทนโฉนดใหม่
หลายคนกังวลว่าเมื่อโฉนดที่ดินหาย การขอออกใบแทนจะมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ความจริงแล้ว ค่าธรรมเนียมหลัก ๆ จะมีดังนี้
- ค่าคำขอ 5 บาท
- ค่าประกาศ 10 บาท
- ค่าปิดประกาศ 10 บาท
- ค่าออกใบแทน 50 บาท
- รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดประมาณ 75 บาท
- โฉนดที่ดินหาย ใช้เวลากี่วันในการออกใบแทน
การขอออกใบแทนโฉนดที่ดินใช้เวลาประมาณ 40-45 วัน โดยแบ่งเป็น
- ระยะเวลาติดประกาศ 30 วัน
- ขั้นตอนการดำเนินการและออกใบแทน 10-15 วัน
สรุปบทความ โฉนดที่ดินหายควรทำยังไงดี พร้อมขั้นตอนเดินเรื่อง
และทั้งหมดนี้ ก็เป็นขั้นตอนดำเนินการเมื่อทำโฉนดที่ดินหาย ซึ่งต้องบอกว่าไม่ได้ยุ่งยาก เพียงแต่ต้องมีพยานหลักฐาน และเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนเท่านั้น แต่หากคุณมีปัญหาจำเป็นต้องใช้เงินก้อน ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ พร้อมเป็นกุญแจสำคัญที่จะปลดล็อกโอกาสทางการเงินให้กับคุณ ด้วยผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่หลากหลายทั้งสินเชื่อบ้านและที่ดิน สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อรถจักรยานยนต์ สินเชื่อรถบรรทุก และสินเชื่อรถการเกษตร ที่พร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการ ไม่ว่าคุณจะต้องการเงินทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจ หรือเสริมสภาพคล่องในยามฉุกเฉิน จากประสบการณ์การดำเนินงานกว่า 40 ปี ที่พร้อมเติบโต คู่ชาวไทย หากสนใจบริการสินเชื่อ สามารถติดต่อสาขาใกล้บ้านคุณ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sawad.co.th และ LINE Official: @srisawad หรือโทร. 1652 รับคำปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
หมายเหตุ
- สินเชื่อบ้านที่ดิน อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 14.61% – 15.00% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนสูงสุด 72 งวด
- สินเชื่อรถอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 17.04% – 24% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนสูงสุด 54 งวด
- กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
- เงื่อนไขอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
ขอบคุณข้อมูลจาก
- กรมที่ดิน
- สำนักงานกิจการยุติธรรม