บทความ > 5 กลยุทธ์เพิ่มมูลค่าผัก สร้างกำไรจากการปลูกผักสวนครัว
อเดียการปลูกผักสวนครัวตามฤดูกาลของประเทศไทย
5 กลยุทธ์เพิ่มมูลค่าผัก สร้างกำไรจากการปลูกผักสวนครัว

สนใจขอสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติไว


ข้าพเจ้าให้ความยินยอมกับบริษัทฯ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าในการติดต่อเพื่อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ


สนใจทำประกัน ผ่อนเงินสด ไม่มีดอกเบี้ย

ข้าพเจ้าให้ความยินยอมกับบริษัทฯ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าในการติดต่อเพื่อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ


5 กลยุทธ์เพิ่มมูลค่าผัก สร้างกำไรจากการปลูกผักสวนครัว

ผักต่าง ๆ นั้นเป็นส่วนประกอบของอาหารแทบทุกมื้อ ไม่ว่าจะเป็นตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร โรงแรม หรือแม้แต่คนทั่วไปก็ต้องซื้อผักต่าง ๆ เป็นประจำ ทำให้มีความต้องการในตลาดสูง และมีการแข่งขันสูงด้วยเช่นกัน ในวันนี้เราจึงมี 5 กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย และสร้างมูลค่าให้แก่ผักสวนครัวมาฝากกัน

5 กลยุทธ์สำคัญในการเพิ่มยอดขาย และเพิ่มมูลค่าผักที่เกษตรกรยุคใหม่ต้องรู้

1. เทคนิคเลือกผักขายดี ตรงใจลูกค้า ตรงฤดูกาล

ประเทศไทยนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ดี และมีผักหลายชนิดที่สามารถปลูกและเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี เช่น กลุ่มผักสวนครัวพื้นฐาน ผักสลัด ผักไฮโดรโปนิกส์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นผักที่มีคนซื้อตลอดทั้งปี นำไปเป็นส่วน ประกอบปรุงเมนูจานเด็ดทั้งในร้านอาหาร และซื้อทานในครัวเรือน ทำให้มีราคาค่อนข้างคงที่ ขายได้ราคาตลอดทั้งปี เหมาะกับเกษตรกรที่ต้องการสร้างรายได้สม่ำเสมอ นอกจากนั้นการปลูกผักสลัดระบบไฮโดรโปนิกส์ยังเริ่มได้ง่ายแม้งบน้อยอีกด้วย

แต่นอกจากผักที่ปลูกได้ตลอดทั้งปีแล้ว สภาพอากาศที่แตกต่างกันในแต่ละฤดูกาล ก็ทำให้มีพืชผักบางอย่างที่เติบโตดี และมีราคาดีเป็นพิเศษในแต่ละฤดูกาลด้วย ซึ่งการเลือกและวางแผนปลูกผักให้เหมาะสมกับช่วงเวลาจะได้ผลผลิตมีคุณภาพ และขายได้ราคาสูง ก็จะช่วยให้คุณมีโอกาสสร้างกำไรจากขายผักมากขึ้นด้วยนั่นเอง 

อเดียการปลูกผักสวนครัวตามฤดูกาลของประเทศไทย

ไอเดียปลูกผักสวนครัวตามฤดูกาล

  • ผักที่ได้ผลผลิตดีในช่วงฤดูร้อน (เดือนมีนาคม-พฤษภาคม) 

ผักสวนครัวที่ได้ผลผลิตดีในช่วงฤดูร้อน จะเป็นผักที่ชอบน้ำน้อย ไม่ต้องการน้ำมากในการปลูก และทนร้อน ทนแล้งได้ดี เช่น ผักชี ผักบุ้ง ชะอม คะน้า มะระ บวบ  ผักกาดขาว พริก แตงกวา และฟักทอง เป็นต้น 

  • ผักที่ได้ผลผลิตดีในช่วงฤดูฝน (เดือนมิถุนายน-กันยายน) 

ในช่วงหน้าฝนมักจะมีน้ำมาก ทำให้ผักที่ปลูกในน้ำ โตในน้ำ หรือชื่นชอบน้ำ ต้องใช้น้ำมาก ๆ ในการปลูกแล้วจะได้ผลผลิตดี เช่น  ถั่วแขก ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี ผักกาดกวางตุ้ง ผักบุ้ง มะเขือเทศ และหอมแดง  เป็นต้น

  • ผักที่ได้ผลผลิตดีในช่วงฤดูหนาว (เดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์) 

ผักที่ได้ผลผลิตดีในช่วงฤดูหนาวคือ ผักที่ชอบอากาศเย็น ไม่ทนร้อน และมักเป็นผักกินใบ เช่น ผักปวยเล้ง ผักกาดหอม ผักกาดขาว กะหล่ำดอก บรอกโคลี ตั้งโอ๋ กุยช่าย ขึ้นฉ่าย พริกหยวก และพริกหวาน เป็นต้น

2. เพิ่มช่องทางขายเพื่อเข้าถึงลูกค้ากว้างขึ้น

โดยทั่วไปแล้ว เกษตรกรที่ปลูกผักขาย มักขายผ่านคนกลางที่รับซื้อผักเป็นกิโล หรือขายให้แก่แผงในตลาด ซึ่งแม้ว่าจะสะดวกและขายได้ปริมาณเยอะในแต่ละครั้ง แต่มักจะได้กำไรน้อยกว่าการวางขายเอง เนื่องจากผู้รับซื้อจะรับมาในราคาถูก เพื่อให้ได้กำไรเมื่อนำไปส่งขายต่อ หรือวางจำหน่าย

ดังนั้น หากต้องการเพิ่มกำไรจากการขายผัก การเพิ่มช่องทางการขายด้วยตัวเองโดยไม่ผ่านคนกลาง จึงถือเป็นอีกวิธีที่ไม่ควรมองข้าม อีกทั้งยังเป็นการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย และขยายโอกาสทางธุรกิจด้วย โดยอาจทำได้ด้วยวิธีต่าง ๆ เหล่านี้

  • วางขายด้วยตนเองที่ฟาร์ม ตลาด หรือพื้นที่ชุมชน 
  • ลงขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อกระจายข่าวสารให้คนในพื้นที่ เช่น กลุ่ม Facebook กลุ่ม LINE และช่องทางอื่น ๆ 
  • ขายให้แก่ร้านอาหาร โรงแรม โรงอาหารในโรงเรียนหรือโรงงานต่าง ๆ โดยตรง

3. ทำบรรจุภัณฑ์ให้ดูดี สะอาด น่าซื้อ

สำหรับพืชผักและผลผลิตทางการเกษตรซึ่งจะต้องนำไปปรุงเป็นอาหาร ความสด สะอาด ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเพิ่มมูลค่า เพิ่มราคาให้แก่ผักได้ อาจทำได้โดย

  • การคัดเลือกผักที่ดูสด สะอาด ไม่แห้งเหี่ยว
  • การทำความสะอาดผักให้ดีก่อนบรรจุ กำจัดเศษดิน และแมลงต่าง ๆ ให้หมด
  • การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ผักที่ดูดี มิดชิด ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกภายนอก 

4. สร้างแบรนด์ผักให้ดึงดูด และโดดเด่น

อีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มมูลค่าผักของตนเองได้ก็คือ การสร้างแบรนด์ให้แก่ฟาร์มปลูกผัก หรือผลผลิต เนื่องจากการสร้างแบรนด์ผักที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของคุณติดตลาด และจดจำได้ง่าย ซึ่งอาจเริ่มต้นโดย

  1. ตั้งชื่อแบรนด์ โดยอาจเลือกใช้สิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวคุณ ครอบครัว ชุมชน หรือธุรกิจของคุณก็ได้
  2. ออกแบบโลโก้ที่โดดเด่น จำง่าย และมีชื่อแบรนด์ และช่องทางติดต่ออยู่ในโลโก้ เพื่อให้เป็นที่จดจำ และช่วยให้ผู้ที่สนใจติดต่อคุณได้ง่ายขึ้น
  3. ติดสติกเกอร์โลโก้นั้นไว้บนถุงบรรจุภัณฑ์ผัก ก่อนขายให้แก่พ่อค้าคนกลาง หรือวางขายด้วยตัวเอง

5. พัฒนาคุณภาพผัก

เนื่องจากผักนั้นมีวางขายทั่วไปในท้องตลาด สิ่งที่จะทำให้ผักของคุณแตกต่าง และมีมูลค่ามากกว่าคู่แข่งได้ก็คือ การพัฒนาคุณภาพของผักให้น่าซื้อมากยิ่งขึ้น ด้วยการพัฒนาผักที่ปลูกให้เป็นผักออร์แกนิก ผักปลอดสารพิษ หรือผักปลอดภัย GAP

  • ผักออร์แกนิก (Organic Vegetables) เป็นผักที่ปลูกโดยวิธีการทางการเกษตรอินทรีย์ ซึ่งการปลูกผักออร์แกนิกนั้นห้ามใช้สารเคมีสังเคราะห์ใด ๆ ทั้งปุ๋ย ยาฆ่าแมลง สารเคมีอื่น ๆ และแม้กระทั่งในดินด้วย โดยกระบวนการผลิตจะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่นสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) 
  • ผักปลอดสารพิษ (Residue-Free Vegetables) เป็นผักที่ปลูกด้วยวิธีเกษตรดั้งเดิม โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และสารสกัดจากธรรมชาติ แต่อาจใช้สารเคมีสังเคราะห์บางชนิดเป็นครั้งคราวตามความจำเป็น ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อให้มีปริมาณสารพิษตกค้างต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด โดยจะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • ผักปลอดภัย GAP (Good Agricultural Practices) เป็นผักที่ผลิตภายใต้มาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมหรือ GAP ซึ่งเป็นระบบการจัดการกระบวนการผลิตที่ดีและเหมาะสม โดยคำนึงถึงความปลอดภัย สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถขอการรับรองผักปลอดภัย GAP ได้ที่หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร ทุกแห่งทั่วประเทศ

เกษตรกรไทยปลูกผักออร์แกนิกเพื่อเพิ่มมูลค่าผัก

2 สิ่งสำคัญสู่ความสำเร็จของธุรกิจค้าขายผัก

นอกจากการเพิ่มมูลค่าให้ผักแล้ว อีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันในการทำธุรกิจขายผักให้ประสบความสำเร็จก็คือแนวทางการบริหารด้านการเงิน ซึ่งมีหลักสำคัญดังนี้

การบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มกำไร

เกษตรกรควรมีการวางแผนการผลิตที่ดี เพื่อลดต้นทุน และสร้างโอกาสทำกำไรให้มากที่สุด ด้วยวิธีต่าง ๆ เหล่านี้

  • สร้างระบบควบคุมการสูญเสียผลผลิต และป้องกันการใช้ต้นทุนอย่างสิ้นเปลืองในระหว่างกระบวนการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว บรรจุ และขนส่ง เช่น หาวิธีป้องกันผลผลิตช้ำ-เหี่ยวเฉา และวางแผนการรดน้ำ-ใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม และให้ผลลัพธ์ดีที่สุด  
  • เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีราคาประหยัด แต่มีคุณภาพดี เพื่อช่วยควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุด โดยอาจเลือกใช้ปุ๋ย ดิน และเมล็ดพันธุ์ชั้นดี จากร้านค้าในท้องถิ่น เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง หรือแม้แต่การลงทุนซื้ออุปกรณ์การเกษตรที่แข็งแรง ทนทาน ใช้งานได้นาน แม้จะมีราคาสูงกว่า เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อซ้ำ หรือซ่อมแซม 
  • สร้างเครือข่ายการค้าที่เข้มแข็ง ทั้งกับฝั่งผู้ขายวัตถุดิบที่ต้องใช้ในกระบวนการผลิต-จำหน่ายผักของคุณ และทางฝั่งผู้ซื้อผลผลิต เพื่อให้สามารถควบคุมต้นทุน รวมถึงช่วยให้มั่นใจว่าจะจำหน่ายผลผลิตในราคาที่น่าพึงพอใจได้ตลอดทั้งปี

วางแผนการเงิน จัดการหนี้สินอย่างชาญฉลาด

การลงทุนในธุรกิจเกษตรมักจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง เกษตรกรจึงต้องมีการวางแผนทางการเงินที่ดี บริหารจัดการเงินทุนและสภาพคล่องให้เพียงพอ โดยมีหลักที่ควรยึดปฏิบัติ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น มีกำไรตามเป้าหมาย และรักษาเครดิตของคุณ และธุรกิจเอาไว้ได้อย่างยั่งยืน ดังนี้

  • หากมีความจำเป็นต้องกู้ยืมเงิน ควรเลือกแหล่งเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยต่ำ 
  • วางแผนการผลิตให้มีรายได้เพียงพอในการชำระคืน ชำระหนี้ตรงเวลา สม่ำเสมอ
  • บริหารจัดการหนี้สินอย่างระมัดระวัง ไม่กู้เกินความจำเป็น 


จะเห็นได้ว่าสำหรับเกษตรกรที่มองหาลู่ทางในการเพิ่มยอดขายผัก และพัฒนาธุรกิจนั้นจะต้องมีการลงทุนในเครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มเติม ดังนั้นแล้วเรื่องเงินทุนจึงถือเป็นอีกเรื่องที่สำคัญสำหรับเกษตรกร โดยหากคุณกำลังมองหาเงินทุนเพื่อการเกษตร สำหรับลงทุนในเครื่องมือใหม่ หรือเพิ่มเงินหมุนเวียนในธุรกิจ สามารถเข้ามาปรึกษา ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ ผู้ให้บริการสินเชื่อที่ดิน และเงินกู้ทุกประเภท วงเงินสูง อนุมัติไว ไม่ต้องใช้คนค้ำได้ที่ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ กว่า 5,500 สาขาทั่วประเทศไทย หรือโทร 1652 หรือ LINE Official @srisawad

Share This