ประเทศไทยเป็นชาติกสิกรรมอันดับต้น ๆ ของโลก และแน่นอนว่า “ข้าว” ก็เป็นพืชทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อและส่งออกแทบจะมากที่สุด โดยปัจจุบันอยู่ที่อันดับ 6 ของโลกในปัจจุบัน แต่รู้ไหมว่านี่คือหนึ่งในสาเหตุการสร้าง “ก๊าซเรือนกระจก” ที่กระทบต่อภาวะโลกร้อนด้วยเช่นกัน !
ลองมาส่องกันดีกว่าว่าในฐานะเกษตรกรที่ทำอาชีพปลูกข้าวสร้างรายได้ จะมีแนวทางอย่างไรบ้างที่จะช่วยลดโลกร้อน ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้มากขึ้นไปในตัว พร้อมส่งท้ายที่จะพาไปรู้จักกับอีกหนึ่งทางเลือกสร้างรายได้อย่างการขายคาร์บอนเครดิตกัน
ทำนาข้าว สร้างมลพิษเกิดโลกร้อนได้จริงหรือ ?
นาข้าว เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโลกร้อนจริง เพราะเกษตรกรรมเป็นภาคที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) มากที่สุดเป็นอันดับที่สองของประเทศไทย และการผลิตข้าวในไทยก็ก่อให้เกิดก๊าซมลพิษกว่า 60% ทั้งยังนับเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทนที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าวมากเป็นอันดับที่สี่ของโลกอีกด้วย
โดยก๊าซมีเทนจากสาเหตุดังกล่าว ก็เกิดมาจากการจัดการซังข้าวที่ไม่ดีพอ ทั้งปล่อยให้ย่อยสลาย ไปเองในพื้นที่ที่มีน้ำขังเป็นเวลาหลาย ๆ เดือน หรือแม้แต่ใช้วิธีการเผาทิ้งก็ตาม ซึ่งทั้งหมดนั้นก็เป็นต้นเหตุสำคัญสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการปลูกข้าวทำนานั่นเอง
4 ขั้นตอนการปลูกข้าวลดโลกร้อนด้วยนวัตกรรมระดับสากล
เพราะการปลูกข้าวแบบดั้งเดิมมีส่วนทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะมีเทนที่ปล่อยออกมาจากนาข้าว ลองเปลี่ยนมาเป็นนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ แนวทางที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซมลพิษ แถมยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิตกันดีกว่า ด้วย 4 แนวทางนี้เลย
1. ปรับพื้นดินด้วยเลเซอร์ (Laser Land Levelling)
แนวทางการปรับพื้นดินด้วยเลเซอร์ เป็นทางเลือกที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยปรับให้พื้นดินมีความเรียบเสมอกัน โดยทำในพื้นดินแห้งจะมีประสิทธิภาพที่ดีมากที่สุด ซึ่งในระดับความคลาดเคลื่อนบวกลบไม่เกิน 2 เซนติเมตรทั่วทั้งแปลง และแม้จะมีต้นทุนค่าปรับพื้นที่สูงกว่าการปรับโดยใช้ระดับน้ำเป็นเกณฑ์ หรือปรับสภาพนาที่มีน้ำท่วมขัง แต่ก็สามารถการันตีได้ว่าจะได้ทุนค่าปรับพื้นที่ภายใน 3 ฤดูกาลปลูกอย่างแน่นอน
2. จัดการระบบน้ำเปียกสลับแห้ง (Alternate Wetting and Drying: AWD)
ในส่วนของการจัดระบบน้ำเปียกสลับแห้ง จะช่วยลดการเจริญเติบโตของวัชพืช และการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้โลกร้อน โดยจะเป็นการควบคุมระดับน้ำโดยรอบเวรของช่วงการเจริญเติบโตของลำต้นและใบ กำหนดให้ลดน้ำที่ใช้ปลูกข้าวอยู่ที่ 20-50% และสามารถลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงได้กว่า 3% ทั้งยังช่วยประหยัดน้ำในการทำนาได้เป็นอย่างดี
3. จัดการธาตุอาหารในนาข้าว (Site Specific Nutrient Management)
เป็นแนวทางการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยคอก โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มธาตุอาหารที่ต้นข้าวขาดแคลน ช่วยให้ดินที่ปลูกมีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้มีธาตุเพียงพอและสมดุล ส่งผลให้ได้ผลผลิตข้าวที่สูงขึ้น ภายใต้หลักสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
- การใช้ชนิดปุ๋ยที่ถูกต้อง (Right Kind)
- การใช้อัตราปุ๋ยที่ถูกต้อง (Right Rate)
- การใช้ปุ๋ยให้ถูกจังหวะเวลา (Right Time)
- การใส่ปุ๋ยในบริเวณที่ถูกต้อง (Right Place)
วิธีดังกล่าวจะให้ผลดีด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว เพราะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ดี ยิ่งเกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยและแนวทางที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ก็จะช่วยส่งผลให้การเก็บคาร์บอนเครดิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4. เทคโนโลยีการจัดการฟางข้าวและตอซังข้าว (Straw and Stubble Management)
สุดท้ายเป็นแนวทางการใช้เทคโนโลยีเพื่อจัดการฟางข้าวและตอซังข้าว เพื่อลดการจัดการแบบเก่า ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม อย่างเช่น การเผาฟางในนาข้าว หรือการปล่อยทิ้งไว้ในย่อยสลายในน้ำขัง โดยเทคโนโลยีนี้จะใช้วิธีการไถกลบตอซังแล้วปล่อยทิ้งไว้ 15 วัน ในสภาพดินแห้งถึงชื้นก่อนเตรียมดินปลูกข้าว เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวลงได้ในฤดูที่ 2 และฤดูต่อ ๆ ไป ซึ่งจะทำให้ผลผลิตข้าวที่ดีและมีคุณภาพ ทั้งยังเป็นการลดโอกาสทำลายหน้าดิน ทำให้เสียอินทรียวัตถุจากการเผา ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตที่ได้ย่ำแย่และน้อยลงกว่าเดิมได้
โบนัส ! ปลูกข้าวลดโลกร้อน ลุ้นรับคาร์บอนเครดิตสร้างรายได้เสริม
ในปัจจุบันการทำนาข้าวไม่ได้สร้างรายได้แค่การขายผลผลิตเท่านั้น แต่เกษตรกรไทยยังมีโอกาสสร้างรายได้เสริมจากการลดโลกร้อน ผ่านโครงการปลูกข้าวเพื่อขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งที่ผ่านมามีความคืบหน้าว่าบางบริษัทจากต่างประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการตรวจสอบและเชี่ยวชาญการทำคาร์บอนเครดิตจากการปลูกข้าว ได้นำเทคโนโลยีดาวเทียมมาใช้ในอุตสาหกรรมข้าวของไทย อย่างไรก็ตาม กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ของไทยกำลังผลักดันให้ตลาดซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต (Carbon Market) ของประเทศไทยเป็นไปตามมาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น
“นาข้าว” กับบทบาทสำคัญในการขายคาร์บอนเครดิต
โดยการขายคาร์บอนเครดิต คือ การขายหน่วยวัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา ซึ่งจะคิดเป็นตัน และคาร์บอนเครดิต 1 หน่วย หมายถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ตันนั่นเอง และถ้าจะถามว่านาข้าวมีบทบาทอย่างไร ทำไมถึงได้มีโอกาสในการขายคาร์บอนเครดิต ?
ก็ต้องตอบว่า “นาข้าว” คืออีกแหล่งสำคัญที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นลำดับต้น ๆ และการหาแนวทางเพื่อการทำกสิกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การใช้น้ำน้อย การใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี ก็จะช่วยให้สามารถทำนาข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการให้ผลผลิตและการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจะถูกนำมาคิดเป็นคาร์บอนเครดิตนั่นเอง และสำหรับเกษตรกรที่สนใจ สามารถดูรายละเอียดเรื่องการขายคาร์บอนเครดิตเพิ่มเติมจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.
สำหรับเกษตรกรที่มีความสนใจในการปลูกข้าวลดโลกร้อน และอยากดำเนินการเปลี่ยนแปลงไปจนถึงการเก็บคาร์บอนเครดิตไว้แลกรายได้เสริม แต่ยังไม่มีทุนมากพอที่จะปรับปรุงการปลูกข้าวแบบเดิม ๆ สู่แนวทางที่ยั่งยืน ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ พร้อมเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้คุณมีทุนไปต่อยอดการทำนาข้าวได้อย่างอุ่นใจ กับริการสินเชื่อธุรกิจการเกษตรสำหรับรถประกอบอาชีพ เช่น รถไถ รถเกี่ยวข้าว และรถเพื่อการเกษตร ด้วยดอกเบี้ยเริ่มต้น 1.00% ต่อเดือน ในอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 21.42%-24% ต่อปี ไม่ต้องใช้คนค้ำ ไม่ต้องใช้สลิป ก็พร้อมอนุมัติเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่พี่น้องเกษตรกรไทยทั่วประเทศ สำหรับคนที่สนใจ สามารถสมัครได้ผ่านเว็บไซต์ หรือปรึกษาเจ้าหน้าที่ได้เลยที่ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ กว่า 5,500 สาขาทั่วไทยหรือโทร 1652 หรือ LINE Official @srisawad
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
*เงื่อนไขอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด