บทความ > สัญญากู้เงินแบบไหนผิดกฎหมาย อธิบายครบจบที่เดียว!
สัญญากู้เงินแบบไหนผิดกฎหมาย อธิบายครบจบที่เดียว!

สนใจขอสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติไว


ข้าพเจ้าให้ความยินยอมกับบริษัทฯ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าในการติดต่อเพื่อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ


สนใจทำประกัน ผ่อนเงินสด ไม่มีดอกเบี้ย

ข้าพเจ้าให้ความยินยอมกับบริษัทฯ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าในการติดต่อเพื่อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ


สัญญากู้เงินแบบไหนผิดกฎหมาย อธิบายครบจบที่เดียว!

ไม่ว่าเราจะวางแผนชีวิตไว้ดีแค่ไหน แต่เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นได้เสมอ และหลายครั้งสิ่งที่จะแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ก็คือ ‘เงินก้อน’ ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลายคนเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ชักหน้าไม่ถึงหลัง จึงหันไปใช้บริการกู้เงินดอกถูกที่เห็นตามโฆษณาจากแหล่งต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ด้วยความร้อนอกร้อนใจ จึงอาจทำให้ไม่ได้ดูสัญญาแบบรอบคอบ จนตกเป็นเหยื่อสัญญากู้เงินที่ไม่เป็นธรรม บทความนี้จึงจะมาอธิบายแบบถามมา-ตอบไป เรื่องสัญญากู้เงิน ติดตามได้เลย

กู้เงินดอกถูก น่าเชื่อถือ ปลอดภัย ที่ไหนดี

 

กฎหมายเกี่ยวกับการกู้เงินที่ควรรู้มีอะไรบ้าง?

วิธีป้องกันการโดนเอาเปรียบเมื่อต้องทำสัญญากู้เงินที่ดีที่สุดคือ การที่ผู้กู้มีความรู้ด้านกฎหมายโดยพื้นฐานมาบ้าง ซึ่งถ้าหากต้องการศึกษา ก็สามารถอ่านได้ในกฎหมายดังต่อไปนี้

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 648-662 ว่าด้วยสัญญากู้ยืมเงิน
  • พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560
  • ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เรียกเก็บจากประชาชน พ.ศ. 2560

โดยหลักการทำสัญญากู้เงินที่กฎหมายแต่ละฉบับได้วางหลักเอาไว้ มีดังต่อไปนี้

  • ห้ามมิให้ผู้ให้กู้เรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
  • ห้ามมิให้ผู้ให้กู้เรียกเก็บดอกเบี้ยในระหว่างการผิดนัดชำระหนี้
  • ห้ามมิให้ผู้ให้กู้ใช้วิธีการบังคับคดีอื่นใดนอกจากวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

 

สถาบันปล่อยกู้ที่น่าเชื่อถือ ดูได้จากอะไรบ้าง?

ถึงแม้ว่าจะต้องการเงินสดเร่งด่วนมากเพียงใด แต่ก็ไม่แนะนำให้ใช้บริการกู้เงินนอกระบบ เพราะนอกจากจะต้องโดนเรียกเก็บดอกเบี้ยที่แพงมหาโหดแล้ว ร้ายแรงที่สุดอาจถึงขั้นโดนทวงหนี้โหดจนเกิดอันตรายได้ ดังนั้น จึงควรเลือกทำสัญญากู้เงินสถาบันทางการเงินที่น่าเชื่อถือ โดยสามารถพิจารณาได้จากปัจจัยดังต่อไปนี้

  • เป็นสถาบันทางการเงินที่ได้รับใบอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
  • มีรีวิวที่ดีจากกลุ่มลูกค้าจำนวนมาก
  • ถ้าหากสถาบันทางการเงินดังกล่าวมีหุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ก็ยิ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือ

 

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุดในประเทศไทยคือเท่าไร?

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุดในประเทศไทยคือ ร้อยละ 15 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยนี้กำหนดโดยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เรียกเก็บจากประชาชน พ.ศ. 2560 โดยถ้าหากพบเห็นสถาบันใดทำสัญญากู้เงินโดยเก็บดอกเบี้ยแพงกว่านี้ก็สามารถแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทราบ ได้ที่เว็บไซต์ของ ธปท. หรือโทร 1213

สำหรับผู้ให้กู้ที่คิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราดังกล่าว นอกจากดอกเบี้ยเงินกู้ยืมนั้นตกเป็นโมฆะทั้งหมดแล้ว ยังเป็นความผิดอาญาฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ดอกเบี้ยที่ผู้กู้ยืมชำระไปแล้วไม่สามารถเรียกคืนได้

กู้เงินด่วน

 

รายละเอียดในสัญญาต้องมีอะไรบ้าง?

สัญญากู้เงินเป็นเอกสารทางกฎหมายที่ระบุข้อตกลงระหว่างผู้ให้กู้และผู้กู้ ผู้ให้กู้คือบุคคลหรือสถาบันที่ให้เงินกู้ ผู้กู้คือบุคคลหรือสถาบันที่รับเงินกู้ สัญญาเงินกู้จะระบุจำนวนเงินที่กู้ยืม ระยะเวลากู้ยืม อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และเงื่อนไขการชำระคืนเงินกู้ สัญญาเงินกู้มีความสำคัญมากเพราะจะช่วยปกป้องสิทธิของผู้ให้กู้และผู้กู้ในกรณีที่เกิดปัญหา เช่น ผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ โดยรายละเอียดที่จำเป็นต้องมีในสัญญามีดังต่อไปนี้

  • ชื่อของผู้ให้กู้และผู้กู้
  • จำนวนเงินที่กู้ยืม
  • ระยะเวลากู้ยืม
  • อัตราดอกเบี้ย
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการกู้ยืม ค่าธรรมเนียมการชำระล่าช้า ค่าธรรมเนียมการผิดนัดชำระหนี้
  • เงื่อนไขการชำระคืนเงินกู้ เช่น ระยะเวลาการชำระคืน จำนวนเงินที่ชำระคืนในแต่ละงวด
  • หลักประกัน (ถ้ามี)
  • กฎหมายที่ใช้บังคับ
  • ข้อตกลงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • สัญญาเงินกู้ควรจัดทำขึ้นโดยทนายความเพื่อปกป้องสิทธิของผู้ให้กู้และผู้กู้ การทำสัญญาเงินกู้จะช่วยให้ผู้ให้กู้และผู้กู้มีความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อตกลงและสิทธิและหน้าที่ของตน ในกรณีที่เกิดปัญหา เช่น ผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ สัญญาเงินกู้จะช่วยให้ผู้ให้กู้สามารถดำเนินการทางกฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิของตนได้
  • พยานในการทำสัญญา

 

ผู้กู้ควรทำอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดขึ้น?

แน่นอนว่าเมื่อทำสัญญากู้เงิน ย่อมไม่มีใครอยากให้มีปัญหาเกิดตามมาทีหลัง ดังนั้น ก่อนที่จรดปากกาเซ็นสัญญา ผู้กู้จึงควรที่จะทำตามต่อไปนี้

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ให้กู้มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อถูกต้องตามกฎหมาย
  • ตกลงกันเกี่ยวกับจำนวนเงินที่กู้ยืม ระยะเวลาในการกู้ยืม อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บ และวิธีการชำระหนี้อย่างละเอียด
  • บันทึกการกู้ยืมเงินเป็นสัญญากู้เงินรูปแบบลายลักษณ์อักษร

 

หากผิดนัดชำระหนี้ผู้ให้กู้สามารถทำอะไรตามกฎหมายกับผู้กู้ได้บ้าง?

หากมีการทำสัญญากู้เงินกันอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามถูกต้อง ไม่มีส่วนใดที่จะทำให้สัญญาเป็นโมฆะหรือโมฆียะ ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ผู้ให้กู้มีสิทธิ์ตามกฎหมายดังต่อไปนี้

  • ยึดทรัพย์และขายทอดตลาด
  • ขอหมายบังคับคดีให้ชำระหนี้
  • ขอหมายบังคับคดีให้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่สิ่งที่สถาบันการเงินต้องการจะทำ เนื่องจากมีความยุ่งยากซับซ้อน ดังนั้น ถ้าเกิดเหตุเข้าตาจนจริง ๆ ก็สามารถแจ้งเรื่องให้สถาบันการเงินทราบแบบตรง ๆ เพื่อปรึกษาหาทางออกไปด้วยกันได้

 

กู้เงินดอกถูกกับศรีสวัสดิ์ อนุมัติไว ไม่ต้องมีคนค้ำ

หากกำลังมองหาแหล่งกู้เงินดอกถูกมาช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน แก้สถานการณ์ฉุกเฉินที่ต้องมาเผชิญ ต้องที่ศรีสวัสดิ์ เรามีบริการจัดหาสินเชื่อทุกประเภท สินเชื่อเงินสด วงเงินสูง กู้ง่าย ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติไว ได้เงินเร็ว ไม่ต้องใช้คนค้ำ ไม่เช็กประวัติการเงิน ครอบคลุมกว่า 5,500 สาขาทั่วไทย ต้องการใช้เงินเมื่อไหร่ แวะมาปรึกษากับศรีสวัสดิ์ได้เลย เอกสารไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องมีคนค้ำ ช่วยให้คุณหมุนเงินทัน และใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 1652 หรือ LINE Official @srisawad

ข้อมูลอ้างอิง

  1. ข้อควรรู้ก่อนทำ “สัญญากู้ยืมเงิน” . สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566

 

Share This