บทความ > อัปเดต! ม.33-39-40 ติดโควิด รับเงินเยียวยาและชดเชยอะไรบ้าง
เช็กสิทธิ์เงินเยียวยาโควิด
อัปเดต! ม.33-39-40 ติดโควิด รับเงินเยียวยาและชดเชยอะไรบ้าง

สนใจขอสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติไว


ข้าพเจ้าให้ความยินยอมกับบริษัทฯ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าในการติดต่อเพื่อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ


สนใจทำประกัน ผ่อนเงินสด ไม่มีดอกเบี้ย

ข้าพเจ้าให้ความยินยอมกับบริษัทฯ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าในการติดต่อเพื่อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ


อัปเดต! ม.33-39-40 ติดโควิด รับเงินเยียวยาและชดเชยอะไรบ้าง

ถึงแม้ว่าจะป้องกันตัวเองได้ดีแค่ไหน แต่โอกาสในการติดโควิดก็สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งนอกจากปัญหาสุขภาพกายและใจแล้ว โรคร้ายอย่างโควิดเองก็ทำให้หลายคนมีปัญหาสุขภาพการเงินทั้งจากการขาดรายได้ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในขณะรักษาตัว ด้วยเหตุนี้  สำนักงานประกันสังคมจึงออกมาตรการจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา 33, 39 และ 40 เพื่อเป็นการชดเชยการขาดรายได้จากการติดเชื้อโควิด-19 แล้วสิทธิ์ประกันสังคมผู้ประกันตนทั้งมาตรา 33, 39 และ 40 จะมีรายละเอียดอย่างไร ผู้ประกันตนแต่ละมาตราจะได้รับเงินเยียวยาประกันสังคมเท่าไหร่ มาเช็กไปพร้อมกันได้เลย!

รู้จักสิทธิ์ประกันสังคมของผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 และ 40

สิทธิประกันสังคม คือ กองทุนสำหรับผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งจะเป็นหลักประกันว่า ผู้ที่อยู่ในระบบจะได้เงินเยียวยาประกันสังคม หรือ สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เจ็บป่วย พิการ หรือเสียชีวิตในกรณีที่ไม่ได้มาจากการทำงาน

นอกจากนี้ สิทธิประโยชน์ดังกล่าวยังครอบคลุมถึงกรณีว่างงาน ชราภาพ คลอดบุตร และสงเคราะห์บุตรอีกด้วย หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ หากเจ็บป่วยก็จะสามารถเบิกประกันสังคมได้ หรือมีลูกก็เบิกได้ทั้งค่าคลอดและค่าเทอม รวมถึงหากตกงานก็มีเงินชดเชยให้ โดยผู้ประกันตนที่จะได้สิทธิประกันสังคมที่แตกต่างกันออกไปตามรายละเอียด ดังนี้

สิทธิ์ผู้ประกันตนมาตรา 33

ผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือ ผู้ประกันตนภาคบังคับ หมายถึง ลูกจ้างที่เข้าทำงานในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตามกฎหมายตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ซึ่งผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินประกันสังคมคำนวณตามฐานค่าจ้าง ขั้นต่ำที่เดือนละ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

โดยผู้ประกันตนตามมาตรานี้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจนถึง 60 ปีบริบูรณ์ และจะได้รับเงินเยียวยา หรือ สิทธิประโยชน์จาก 7 กรณี คือ

  • กรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย
  • กรณีทุพพลภาพ
  • กรณีเสียชีวิต
  • กรณีคลอดบุตร
  • กรณีสงเคราะห์บุตร
  • กรณีชราภาพ
  • กรณีว่างงาน

สิทธิ์ผู้ประกันตนมาตรา 39

สำหรับใครที่ลาออกจากบริษัท หรือ องค์กรที่เคยทำงาน แต่ยังต้องการเก็บสิทธิประกันสังคมเอาไว้ก็สามารถทำเรื่องย้ายมาเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้ โดยจะมีเงื่อนไขหลัก 3 ข้อ คือ

  • ต้องเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และจ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน
  • ออกจากงานมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน
  • ไม่ได้เป็นผู้รับสิทธิประโยชน์กรณีทุพพลภาพ

โดยเงินเยียวยาประกันสังคมและสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจะเหมือนกับผู้ประกันตนมาตรา 33 แต่จะไม่ครอบคลุมกรณีว่างงาน

สิทธิ์ผู้ประกันตนมาตรา 40

สำหรับบุคคลทั่วไปที่มีอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ หรือเป็นแรงงานนอกระบบก็สามารถทำเรื่องขึ้นเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้ โดยผู้ทำเรื่องจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  • อายุตั้งแต่ 15 – 65 ปีบริบูรณ์
  • ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ครอบคลุมไปถึงพนักงานรัฐวิสาหกิจ และ ข้าราชการ
  • สัญชาติไทย หรือ ถือบัตรประชาชนที่มีเลขประจำตัวแรกเป็น 0, 6 หรือ 7
  • หรือเป็นผู้พิการทางร่างกายที่ยังสามารถรับรู้สิทธิประกันสังคมได้

โดยผู้ประกันตนมาตรา 40 นี้จะได้รับเงินเยียวยาอาชีพอิสระเมื่อจ่ายเงินสมทบตามกรณี ดังนี้

  • จ่ายเงินสมทบเดือนละ 70 บาท – รับสิทธิประโยชน์ในกรณีเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ ทุพพลภาพ และเสียชีวิต
  • จ่ายเงินสมทบเดือนละ 100 บาท – รับสิทธิประโยชน์ในกรณีเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ ทุพพลภาพ เสียชีวิต และชราภาพ
  • จ่ายเงินสมทบเดือนละ 300 บาท – รับสิทธิประโยชน์ในกรณีเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร
อาชีพไหนได้เงินเยียวยาโควิดเท่าไหร่

ผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 และ 40 ติดโควิดต้องทำอย่างไร?

สำหรับในกรณีที่ป่วยเป็นโควิด ประกันสังคมจะดูแลค่าใช้จ่ายที่ครอบคลุมค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาล รวมไปถึงการรักษาตัวประเภทต่าง ๆ อาทิ การรักษาตัวที่บ้านระหว่างรอเข้ารักษาตัวแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล และ การรักษาตัวที่โรงพยาบาลสนาม โดยรายการค่าใช้จ่ายที่ประกันสังคมดูแลนั้นจะประกอบไปด้วย

  • ค่าตรวจในห้องปฏิบัติการ
  • ค่ายารักษา
  • ค่าบริหารเอ็กซเรย์ทรวงอก
  • ค่าดูแลผู้ป่วยวันละ 1,000 บาท ซึ่งครอบคลุมค่าอาหาร 3 มื้อและการติดตามรวมถึงให้คำปรึกษาการประเมินอาการ ระยะเวลาไม่เกิน 14 วัน
  • ค่าพาหนะขนส่งผู้ป่วย
  • ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์
  • ค่าออกซิเจน

โดยผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 และ 40 ที่ขาดรายได้จากการติดโควิดนั้น จะสามารถเบิกเงินเยียวยาประกันสังคมได้ตามเงื่อนไขต่อไปนี้

ผู้ประกันตนมาตรา 33

ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ผู้ประกันตนสามารถลาป่วยได้ 30 วัน และหากอาการป่วยยังไม่ทุเลาลง ผู้ประกันตนสามารถเบิกเงินเยียวยาประกันสังคมได้ตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย

ผู้ประกันตนมาตรา 39

ร้บเงินเยียวยาร้อยละ 50 คำนวณจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ และผู้ประกันตนจะต้องนำส่งเงินสมทบ 3 เดือนในระยะเวลา 15 เดือนก่อนใช้สิทธิ์ ซึ่งจะพิจารณาควบคุมไปกับหลักฐานต่าง ๆ ใบรับรองแพทย์ และหลักเกณฑ์เงื่อนไขอื่น ๆ เพิ่มเติม

ผู้ประกันตนมาตรา 40

รับเงินเยียวยาอาชีพอิสระตามทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม และจะต้องส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนใช้สิทธิ์ ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาเอกสาร ใบรับรองแพทย์ และหลักเกณฑ์เงื่อนไขอื่น ๆ เพิ่มเติม

“ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ” เพื่อนทางการเงินที่พร้อมเคียงข้างทุกสถานการณ์

เมื่อรักษาสุขภาพให้กลับมาแข็งแรงหลังจากการติดเชื้อโควิดแล้ว อย่าลืมหันกลับมาดูแลสุขภาพการเงินให้แข็งแรงด้วย ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนทางการเงิน พร้อมทำรายรับรายจ่ายใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการเงินของตัวเองมากยิ่งขึ้น แต่หากใครที่เริ่มรู้สึกว่าสภาพทางการเงินไม่คล่องตัวเหมือนอย่างเคย หรือ ได้รับเงินเยียวยาที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ “ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ” พร้อมเป็นอีกหนึ่งกำลังใจด้วยบริการสินเชื่อหลากหลายประเภท เพื่อตอบโจทย์ความต้องการทางการเงินอย่างตรงจุด ดอกเบี้ยต่ำ เงื่อนไขยืดหยุ่น กำหนดแผนชำระค่างวดได้ตามความเหมาะสม หากสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 1652

Share This