ในช่วงเศรษฐกิจกำลังไม่แน่นอน ทำให้หลายคนที่กำลังตกงานอาจหวั่นใจเมื่อยังหางานที่ใช่หรือสิ่งที่อยากทำในอนาคตไม่ได้ รวมถึงเหล่าฟรีแลนซ์ที่ยังไม่แน่ใจในอนาคต ด้วยกลัวว่างานจะหดหายลงตามสภาพเศรษฐกิจ จนเกรงว่าปัญหาเหล่านี้จะส่งผลต่อสุขภาพจิตทำให้รู้สึกเครียด กังวล ไร้จุดหมาย ขาดแรงจูงใจ จึงต้องเตรียมตัวรับมือให้ดีเพื่อไม่ให้จิตตกจนส่งผลต่อสุขภาพกายและใจ โดยสามารถเริ่มดูแลตัวเองได้ ด้วยการทำตามวิธีรับมือกับความเครียดหลังตกงานได้ในบทความนี้!
1. หางานอดิเรกทำ
หากปล่อยเวลาผ่านไปเฉย ๆ อาจทำให้จิตใจฟุ้งซ่านจนเฝ้าคิดกังวลแต่เรื่องงาน การหางานอดิเรกทำในเวลาว่าง จึงเป็นเหมือนการเบี่ยงเบนความสนใจไม่ให้คิดแต่เรื่องที่น่าผิดหวัง อีกทั้งยังอาจทำให้ได้พบแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ในการทำงานฟรีแลนซ์ รวมถึงบางกิจกรรม เช่น การอ่านหนังสือ ฟังเพลง วาดรูป อาจช่วยทำให้ได้ผ่อนคลายและลดความวิตกกังวลลงได้ อีกทั้งยังมีกิจกรรมที่ช่วยให้ได้พบเจอผู้คนใหม่ ๆ ที่มีความชอบคล้ายกัน ซึ่งจะช่วยให้มีสังคมใหม่และรู้สึกไม่โดดเดี่ยว
2. หมั่นดูแลสุขภาพร่างกายอยู่เสมอ
ในช่วงที่มีแต่ความเครียด หลายคนอาจเลือกที่จะทานแต่อาหารขยะที่มอบความสุขได้ในขณะหนึ่งแล้วปล่อยร่างกายโดยไม่ใส่ใจเพราะหวังอยากพักผ่อน รวมถึงสำหรับเหล่าฟรีแลนซ์ที่หักโหมงานดึกดื่นที่บ้านโดยไม่ดูแลร่างกายให้ดี ซึ่งการละเลยสุขภาพกายเช่นนี้อาจส่งผลกระทบในระยะยาว เพราะนอกจากการหมั่นออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงจะส่งผลต่อสุขภาพกายแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการดูแลจิตใจ เนื่องจากร่างกายที่แข็งแรงจะผลิตสารแห่งความสุข เช่น เซโรโทนิน และโดพามีน ที่ช่วยลดความเครียดและวิตกกังวลได้ ซึ่งสามารถเลือกปรับเปลี่ยนการดูแลร่างกายได้ตามความถนัดและเหมาะสมของแต่ละคน แต่โดยทั่วไปแล้วจะสามารถดูแลสุขภาพร่างกายได้ด้วยวิธี เช่น
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักและผลไม้สด หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและน้ำตาลสูง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 5 วัน
- พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติด
3. ทำงานพาร์ตไทม์ หารายได้เสริม
หากยังไม่ได้งานที่ต้องการ ก็อาจลองหางานพาร์ตไทม์ดูก่อน ยิ่งในยุคที่ทุกอย่างอยู่ในโลกดิจิทัล การคัดกรองงานระยะสั้นและทำการสมัครก็ไม่ใช่เรื่องยาก โดยเฉพาะสำหรับใครที่กำลังมีปัญหาเงินเดือนจนทำให้คิดไม่ตก การหารายได้พิเศษจากงานพาร์ตไทม์ก็สามารถช่วยทดแทนรายได้ที่ควรได้รับจากเงินเดือนแม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดี อีกทั้งยังอาจทำให้ได้ค้นพบคอนเน็กชันใหม่ รวมถึงได้ฝึกทักษะซอฟต์สกิลบางอย่าง เช่น ทักษะการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม หรือแม้แต่การจัดการเวลา ก่อนทำงานประจำ ซึ่งงานพาร์ตไทม์ก็มีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่งานบริการพนักงานร้านอาหาร ไปจนถึงการเป็นพนักงานพาร์ตไทม์ในตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง หรือคล้ายกับสายงานเดิมตามออฟฟิศ เพื่อสั่งสมประสบการณ์ อีกทั้งยังสามารถนำไปใส่พอร์ตได้ หากไม่อยากออกไปทำนอกบ้าน ก็อาจลองหางานพาร์ตไทม์ที่สามารถทำได้ที่บ้านผ่านอินเทอร์เน็ตโดยใช้ความสามารถที่มี เช่น รับงาน Freelance เขียนบทความ แปลภาษา ทำภาพกราฟิก หรือแม้แต่การรับของมาขายทางออนไลน์ ก็นับเป็นอาชีพเสริมได้เช่นกัน ซึ่งงานเหล่านี้ก็ล้วนมีความสะดวกและยืดหยุ่นกว่างานพาร์ตไทม์แบบออฟไลน์ เพียงแต่ต้องอาศัยความรับผิดชอบและการจัดสรรเวลาของตัวเองให้ดี
4. เข้าร่วมคอร์ส ศึกษาความรู้เพิ่มเติมในด้านที่สนใจ
หากเป็นคนที่มีประสบการณ์ทำงานมาแล้ว คงไม่ใช่เรื่องยากที่จะพิจารณาถึงจุดเด่นและจุดด้อยของตัวเองและนำมาพัฒนา โดยการหาคอร์สเรียนเพิ่มเติม หรือฝึกฝนด้วยตัวเองในช่วงเวลาว่าง โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ข้อมูลทุกอย่างมีอยู่ในโลกออนไลน์ แม้แต่คอร์สเรียนก็ยังสามารถเลือกเรียนออนไลน์ได้ การจะเทคคอร์ส หรือสมัครเรียนเพิ่มเติมในด้านที่สนใจก็คงไม่ใช่เรื่องยาก อีกทั้งยังสามารถนำใบรับรอง หรือ Certificate ที่ได้รับจากสถาบันไปอัปเดตในโปรไฟล์ เพื่อใช้ในการสมัครงานได้เช่นกัน เพราะนอกจากจะทำให้ประวัติดูดีแล้ว ยังสามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจได้มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งหากยังไม่รู้จะลงเรียนอะไร ก็อาจศึกษาจากคอร์สยอดนิยม เพื่อสำรวจความสนใจของผู้คนและหาแนวทางพัฒนาความรู้ที่เหมาะสม โดยที่ผ่านมาในปี 2023 ได้มีข้อมูลคอร์สเรียนที่คนไทยเรียนมากที่สุด จาก Google Trends ได้แก่ คอร์สเรียนภาษาจีน, ทักษะการเขียนโค้ด, Data analytics, ภาษาอังกฤษ, การบัญชี รวมถึงคอร์สเรียน Excel โดยการเลือกเรียนตามคอร์สยอดนิยมก็อาจช่วยให้พัฒนาความรู้ความสามารถได้ตรงกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้นได้
5. เริ่มวางแผนสำหรับอนาคต
นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุด หากยังไม่ได้รับการติดต่อ หรือวี่แววของการได้งานใหม่สักที การมองหาลู่ทางอื่นในชีวิตอาจช่วยให้สามารถผ่านพ้นภาวะนี้ไปได้ง่ายขึ้น โดยสำหรับใครที่อยู่ในสภาวะว่างงานอาจต้องเริ่มประเมินสถานการณ์ปัจจุบันและนำเงินเก็บที่มีทั้งหมดมารวบรวมดู พร้อมกับพิจารณาทักษะความรู้ ว่าหากงานในสายที่ถนัดเป็นไปได้ยาก จะเริ่มขยับขยายเปลี่ยนสาขาอาชีพได้หรือไม่ และตั้งเป้าหมายในอนาคตเพื่อวางแผนการดำเนินชีวิตต่อไป ว่าหากภายใน 3 เดือนไม่ได้งานจะทำอย่างไร ต้องไปหยิบยืมคนที่บ้านหรือไม่ หรืออาจต้องลองทำอย่างอื่นไปก่อน ซึ่งไม่เพียงจำเป็นแค่กับผู้ที่อยู่ในสภาวะว่างงานเท่านั้น แต่ยังจำเป็นสำหรับงานฟรีแลนซ์ที่อาจมีความไม่แน่นอนของปริมาณงานที่เข้ามาในแต่ละครั้งด้วย การมีเป้าหมายสำหรับวางแผนการเงินล่วงหน้า จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยเสริมความพร้อมให้สามารถรับมือกับความเครียดได้
ศึกษาวิธีรับมือกับความเครียดหลังตกงาน และดูแลปากท้องให้พร้อมสำหรับแผนการใช้ชีวิตในอนาคต ไม่จำเป็นต้องเป็นพนักงานประจำที่มีเงินเดือนก็สามารถขอสินเชื่อได้ เพียงปรึกษาศรีสวัสดิ์ ที่ให้บริการสินเชื่อเงินด่วน สำหรับคนตกงาน รวมถึงอาชีพฟรีแลนซ์ พร้อมช่วยเหลือทุกปัญหาทางการเงินอย่างจริงใจ เงื่อนไขเป็นธรรม ตอบโจทย์คนว่างงานที่ต้องการเงินไปลงทุนทำธุรกิจ หรือนำเงินมาหมุนในยามฉุกเฉินได้
สมัครง่าย ๆ ผ่านเว็บไซต์ หรือปรึกษาเจ้าหน้าที่ได้เลยที่ศรีสวัสดิ์กว่า 5,500 สาขาทั่วไทย หรือโทร 1652 หรือ LINE Official @srisawad