บทความ > 3 วิธีเช็กความน่าเชื่อถือสินเชื่อเงินสด กู้เงินด่วนสบายใจ!
กู้เงินด่วนต้องดูอะไรบ้าง
3 วิธีเช็กความน่าเชื่อถือสินเชื่อเงินสด กู้เงินด่วนสบายใจ!

สนใจขอสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติไว


ข้าพเจ้าให้ความยินยอมกับบริษัทฯ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าในการติดต่อเพื่อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ


สนใจทำประกัน ผ่อนเงินสด ไม่มีดอกเบี้ย

ข้าพเจ้าให้ความยินยอมกับบริษัทฯ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าในการติดต่อเพื่อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ


3 วิธีเช็กความน่าเชื่อถือสินเชื่อเงินสด กู้เงินด่วนสบายใจ!

เคยไหม? ต้องการเงินสดเพื่อเสริมสภาพคล่อง แต่อยู่ ๆ ก็ได้รับ SMS กู้เงินด่วนราวกับฟ้าประทานพรลงมาให้แบบทันตา แถมจะมองไปทางไหนก็เจอแต่โฆษณาแอพเงินด่วนที่สามารถกู้เงินด่วนใน 10 นาทีและโอนเข้าบัญชีได้โดยตรงอีกด้วย

อย่างไรก็ดี แม้จะมีอัตราดอกเบี้ยที่น่าสนใจ ได้วงเงินสูง หรือมีเงื่อนไขที่แสนสะดวก แต่ความสบายใจของสินเชื่อเงินสดเหล่านี้อาจทำให้เรากลายเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้โดยไม่ทันตั้งตัว

ดังนั้น เพื่อเพิ่มความสบายใจให้กับการกู้เงินด่วน พร้อมป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทุกรูปแบบ ลองมาตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสินเชื่อเงินสดจาก 3 เช็กลิสต์ที่นำมาฝากในวันนี้กัน

1. เช็กความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการก่อน


เมื่อชีวิตมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงิน ไม่ว่าใครก็ย่อมเครียดได้เป็นธรรมดา แต่ก่อนจะหลงเชื่อโฆษณาจาก SMS คอลเซนเตอร์ หรือแอพเงินด่วนจากที่ไหน สิ่งแรกที่ทุกคนควรทำ คือ ตั้งสติ พร้อมตรวจสอบความน่าเชื่อถือจากทางผู้ให้บริการสินเชื่อตามขั้นตอน ดังนี้

1. ตรวจสอบกับธนาคารแห่งประเทศไทยผ่าน BOT License Check

BOT License Check เป็นระบบการตรวจสอบข้อมูลของผู้ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ที่ได้รับการอนุญาตและขึ้นทะเบียนกับธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงธุรกิจสินเชื่อเงินสดประเภทต่าง ๆ โดยทุกคนสามารถตรวจสอบข้อมูลผู้ให้บริการจากทางเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศได้โดยตรง

2. สอบถามเลขที่ใบอนุญาตจากผู้ให้บริการ

ธุรกิจสินเชื่อในประเทศไทยจะมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ สินเชื่อจากสถาบันการเงิน และสินเชื่อจากผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน แต่ไม่ว่าจะเป็นประเภทไหนก็จะต้องมีใบอนุญาตและการขึ้นทะเบียนที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งก่อนจะตัดสินใจทำธุรกรรมใด อย่าลืมสอบถามเลขที่ใบอนุญาตและรายละเอียดด้านอื่นให้ครบถ้วน จากนั้นจึงนำมาตรวจสอบเพื่อเช็กความน่าเชื่อถือต่อไป

อย่างไรก็ดี นอกจากสินเชื่อทั้ง 2 ประเภทแล้ว หากเป็นธุรกิจสินเชื่อประเภทอื่นอย่าง พิโกไฟแนนซ์ หรือ สินทรัพย์ดิจิทัล สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลจากทางกระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ตามลำดับ

3. โทรสอบถามกับทางบริษัทที่ได้รับการแอบอ้างโดยตรง

เมื่อได้รับข้อมูลและตรวจสอบเรียบร้อย ก่อนที่จะตัดสินใจทำธุรกรรม ขอแนะนำให้ลองโทรศัพท์ หรือหาช่องทางติดต่อไปยังบริษัท หรือสถาบันการเงินที่ได้รับการแอบอ้างดูก่อน โดยอาจสอบถามถึงรายละเอียดของสินเชื่อ เช่น เงื่อนไขการให้บริการ ดอกเบี้ย วงเงินที่จะได้รับ และรายละเอียดที่ได้รับมาทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นใจและลดโอกาสการโดนมิจฉาชีพหลอกได้

2. ตรวจสอบเงื่อนไขของสินเชื่อให้เรียบร้อย

การกู้เงินด่วนส่วนมากมาพร้อมกับโฆษณาในเรื่องของดอกเบี้ยที่ต่ำ วงเงินที่สูง ไปจนถึงการอนุมัติสินเชื่อที่ไวมาก มีการใช้เอกสารที่น้อย ทั้งยังมีเงื่อนไขการชำระค่างวดที่ยืดหยุ่น แถมในบางครั้งยังสามารถขอสินเชื่อได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้หลักทรัพย์ หรือบุคคลค้ำประกันอีกด้วย

อย่างไรก็ดี แม้จะมีเงื่อนไขที่ดีต่อใจมากแค่ไหน ทุกคนยังควรตรวจสอบเงื่อนไขของสินเชื่อเงินสดให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในการขอสินเชื่อ ซึ่งตามกฎหมายแล้ว เจ้าหนี้สามารถคิดดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 24% ต่อปีสำหรับสินทรัพย์ที่จำนำได้ และ 25% สำหรับสินเชื่อไม่มีหลักประกัน หากเกินกว่านี้จะเข้าข่ายเป็นสินเชื่อที่ผิดกฎหมายและเสี่ยงต่อการเป็นการกู้เงินนอกระบบ

ตัวอย่าง:

นายสมหมายกู้เงินด่วนมา 10,000 บาท ในเงื่อนไขการผ่อนแค่วันละ 100 บาท นาน 6 เดือนเพื่อรวมดอกเบี้ยด้วย

ดังนั้น หากคิดตามเงื่อนไขนี้ นายสมหมายจะต้องจ่ายเงินสูงถึง 30 x 6 x 100 = 18,000 บาท คิดเป็นดอกเบี้ย 8,000 บาท หรืออัตราร้อยละ 80 ต่อ 6 เดือน ซึ่งหากคิดเป็นรายปีแล้ว อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 160 ซึ่งถือว่าเกินกว่ากฎหมายกำหนดไปสูงมาก

จะเห็นได้ว่า ต่อให้ต้องจ่ายค่างวดวันละไม่กี่บาทและได้เงินสดมาใช้ทันใจ แต่หากนำมาคำนวณรวมกันแล้ว พบว่าอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า 15% ก็ไม่ควรทำธุรกรรมด้วย เพราะอาจเข้าข่ายเป็นบริการที่ผิดกฎหมาย

ขอสินเชื่อเงินสดโดยไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

3. เข้าใจกลโกงจากแอพเงินด่วนผิดกฎหมาย

นอกจากอัตราดอกเบี้ย วงเงิน ไปจนถึงการชำระค่างวดแล้ว ทุกคนยังควรตรวจสอบเงื่อนไขการขอสินเชื่อในด้านอื่น ๆ เพื่อเท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพในปัจจุบัน โดยในขณะนี้ กลวิธีที่มิจฉาชีพชอบใช้จะมีด้วยกันอยู่ 3 แบบ คือ

1. การหลอกเสียค่าใช้จ่ายเพื่อกู้เงินด่วน

ในปัจจุบันนี้ มิจฉาชีพมีการเสนอให้ผู้ขอสินเชื่อโอนเงินจำนวนหนึ่งเข้ามาก่อน เพื่อเป็นการตรวจสอบและเป็นค่าดำเนินการ แถมในบางเคสยังมีการจับเซ็นสัญญาที่จะต้องส่งเงินให้แก่ทางมิจฉาชีพหลังจากขอสินเชื่อเรียบร้อยแล้วด้วย

ในหลายเคส ผู้เสียหายหลายคนได้มีการเซ็นสัญญา ทั้งยังเสียเงินเกินกว่าวงเงินที่จะได้รับ แต่กลับไม่ได้รับเงินจากสินเชื่อเลยแม้แต่บาทเดียว ซึ่งหากใครไปขอให้คนรอบตัวเป็นผู้ค้ำประกัน หรือมีการกู้หนี้ยืมสินจากคนรอบข้างมา ก็จะยิ่งกลายเป็นหนี้สะสม และกลายเป็นปัญหาการเงินเรื้อรังที่ยากจะแก้ไข

2. สัญญาอำพรางการกู้เงิน

การทำนิติกรรมอำพรางที่เจ้าหนี้หลอกให้ขายฝาก โอนขาย หรือซื้อสินค้าบางชิ้น เพื่อเป็นประกันการกู้เงิน เช่น นายสวัสดิ์ต้องการกู้เงิน 30,000 บาทกับนางศรี แต่นางศรีบอกให้ซื้อสินค้าจำนวน 35,000 บาท ซึ่งนายสวัสดิ์จำเป็นที่จะต้องกู้เงินมาซื้อสินค้า ทำให้เสียทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เมื่อนำมารวมกันแล้วก็จะทำให้ไม่ได้รับเงินที่ต้องการ แถมยังติดลบอีก

อย่างไรก็ดี สัญญาอำพรางการกู้เงินดังกล่าว ถือเป็นนิติกรรมอำพรางที่ผิดกฎหมาย ทำให้ตกเป็น “โมฆะ” บังคับตามสัญญากู้เงิน

3. การหลอกทำสัญญาเงินกู้นอกระบบ

มิจฉาชีพบางส่วนมีการแนะนำให้ผู้กู้กรอกข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดก่อนเพื่อทำสัญญา จากนั้นจึงนำสัญญานี้มาเป็นข้อผูกมัดด้วยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย หรืออาจบังคับให้จ่ายค่างวดโดยที่ไม่ได้รับเงินกู้มา

หากทำตามเช็กลิสต์เหล่านี้ เชื่อว่าทุกคนก็สามารถกู้เงินด่วนเพื่อเสริมสภาพคล่องได้อย่างมั่นใจ ทั้งยังห่างไกลจากหนี้นอกระบบที่มาพร้อมกับดอกเบี้ยสูงเกินกว่ากฎหมาย มิหนำซ้ำยังเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ในอนาคต รู้แบบนี้แล้ว อย่าลืมนำ 3 เช็กลิสต์ที่นำมาฝากนี้ไปพิจารณาก่อนตัดสินใจขอสินเชื่อจากแอพเงินด่วนกันด้วย

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินเชื่อเงินสดที่ให้บริการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มาพร้อมวงเงินสูงและดอกเบี้ยต่ำ ทั้งยังมีเงื่อนไขการขอสินเชื่อและการชำระค่างวดที่ยืดหยุ่น สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ “ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ” ทุกสาขาใกล้บ้านทั่วไทย หรือ โทร 1652 หรือไลน์ @srisawad เพื่อถามข้อมูลแบบทันใจ มั่นใจด้วยประสบการณ์กว่า 40 ปี เคสไหนก็มีทางออก!

Share This