บทความ > ต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ต้องทำอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
ต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ทำให้ใช้รถได้โดยไร้กังวล
ต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ต้องทำอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

สนใจขอสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติไว


ข้าพเจ้าให้ความยินยอมกับบริษัทฯ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าในการติดต่อเพื่อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ


สนใจทำประกัน ผ่อนเงินสด ไม่มีดอกเบี้ย

ข้าพเจ้าให้ความยินยอมกับบริษัทฯ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าในการติดต่อเพื่อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ


ต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ต้องทำอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ทำที่บ้านได้ ไม่ยากอย่างที่คิด

ต้องต่อ พ.ร.บ. และภาษีรถยนต์แต่ไม่อยากเดินทางไปขนส่ง หรือทำงานหนักจนไม่มีวันว่าง สามารถทำอย่างไรได้บ้าง? บอกเลยว่าไม่ต้องเป็นกังวล เพราะสมัยนี้คุณสามารถต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ได้แล้ว หากคุณอยากรู้ว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง และจะต่อ พ.ร.บ. ผ่านทางออนไลน์ได้ที่ไหน เรามีคำตอบมาให้แล้วในบทความนี้

พ.ร.บ. รถยนต์คืออะไร?

สิ่งแรกที่คุณควรเรียนรู้เกี่ยวกับการต่อ พ.ร.บ. ก็คือความหมายของ พ.ร.บ. รถยนต์นั่นเอง

พ.ร.บ. รถยนต์ คือประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยกฎหมายฉบับนี้กำหนดให้เจ้าของรถ ที่มีชื่อในเล่มทะเบียนรถยนต์ หรือผู้ครอบครองรถในกรณีเป็นผู้เช่าซื้อรถต้องมีประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับสำหรับรถยนต์คันนั้น ๆ และจำเป็นต้องต่ออายุ พ.ร.บ. ในทุก ๆ ปี และการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์เป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ด้วยเช่นกัน เพราะหากจะทำการชำระภาษีรถยนต์ คุณจำเป็นต้องใช้ข้อมูล หรือเอกสาร พ.ร.บ. รถยนต์ที่ยังไม่หมดอายุด้วย

รถประเภทไหนบ้างที่ต้องมี พ.ร.บ.?

พ.ร.บ. รถยนต์เป็นประกันภาคบังคับที่จำเป็นสำหรับรถทุกคัน ทุกประเภทที่ขึ้นทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือรถบรรทุกก็จำเป็นต้องต่อ พ.ร.บ. ทั้งสิ้น

จะเป็นอย่างไรหากไม่ได้ต่อ พ.ร.บ.?

หลายคนอาจยังคงสงสัยว่าทำไมต้องต่อ พ.ร.บ. และจะเป็นอย่างไรหากไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. ซึ่งเรามีคำตอบมาให้

หากรถยนต์ของคุณไม่ทำการต่ออายุ พ.ร.บ. ทุกปี จะต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 หากมีการตรวจพบ ดังนี้

  1. ปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท
  2. ห้ามใช้รถบนท้องถนน
  3. ห้ามต่อภาษีประจำปี
  4. ห้ามใช้รถในเขตเมือง

นอกจากนั้น การใช้รถที่ไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ซึ่งเป็นประกันภาคบังคับยังอาจทำให้คุณไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ เพราะนอกจากจะไม่มี พ.ร.บ. คุ้มครองแล้ว ประกันรถยนต์ที่ซื้อเพิ่มเติมส่วนมากก็จะไม่ให้ความคุ้มครองรถที่ไม่มี พ.ร.บ. หรือ พ.ร.บ. หมดอายุด้วยเช่นกัน

ซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ทั้งเก๋ง และกระบะกับศรีสวัสดิ์

หากคุณกำลังมองหา พ.ร.บ. ใหม่สำหรับรถยนต์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็นรถเก๋ง หรือรถกระบะ ศรีสวัสดิ์พร้อมให้บริการคุณแล้วทุกสาขาทั่วประเทศ โดยศรีสวัสดิ์มีประกันภัยรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองภาคบังคับให้คุณซื้อได้ในราคาที่จริงใจ และเบี้ยประกันภัยจะขึ้นอยู่กับยี่ห้อ รุ่น และอายุรถที่เอาประกัน

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ที่ไหนได้บ้าง?

การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์สามารถเดินทางไปที่กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดในพื้นที่ก็ได้ หรือจะดำเนินการผ่านทางออนไลน์ก็สะดวก ซึ่งการต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์นั้นเป็นวิธีที่สะดวก และกำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน

จะต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

ต่อ พ.ร.บ. ภาษีรถยนต์ที่กรมการขนส่งทางบก

ในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ที่กรมการขนส่งทางบก จะต้องใช้เอกสารดังต่อไปนี้

  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา
  • เอกสาร พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ
  • ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (กรณีที่รถมีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป)
  • เงินสำหรับอัตราภาษีรถยนต์ตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522

ต่อ พ.ร.บ. ภาษีรถยนต์ออนไลน์

ต่อพ.ร.บ.ออนไลน์สามารถทำผ่านมือถือได้

อย่างไรก็ตาม หากคุณจะทำการต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ก็สามารถใช้เพียงข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ เจ้าของรถยนต์ และ พ.ร.บ. รถยนต์ได้ พร้อมเตรียมตัวชำระภาษีรถยนต์ออนไลน์ก็เพียงพอแล้ว ซึ่งการชำระภาษีรถยนต์ออนไลน์นั้นสามารถทำได้ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่

  1. เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก : https://eservice.dlt.go.th
  2. แอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax ที่สามารถดาวน์โหลดได้ทั้ง iOS และ Android

โดยมีขั้นตอนการต่อ พ.ร.บ. ภาษีรถยนต์ง่าย ๆ ดังนี้

  1. เข้าสู่เว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน จากนั้นลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบ
  2. เลือกบริการชำระภาษีรถยนต์
  3. กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ และเจ้าของรถ
  4. กรอกรายละเอียดหลักฐานการเอาประกันตาม พ.ร.บ.
  5. ชำระเงินค่าภาษีรถยนต์
  6. เลือกวิธีการรับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีรถยนต์
  7. รอรับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีได้เลย

ขั้นตอนทั้งหมดนี้จะใช้เวลาไม่นาน เพียงประมาณ 15 นาที คุณก็สามารถต่อ พ.ร.บ. และชำระภาษีรถยนต์ด้วยตนเองที่บ้านได้แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องเตรียมเอกสารใด ๆ และไม่จำเป็นต้องออกเดินทาง และที่สำคัญคือสามารถทำผ่านเครื่องมือสื่อสารที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป หรือแม้แต่สมาร์ตโฟนก็สามารถทำได้

พ.ร.บ. ใกล้หมดอายุ ไม่รู้จะไปต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ที่ไหนดี? เลือกต่อ พ.ร.บ. ผ่านทางออนไลน์ หรือแวะมาที่ศรีสวัสดิ์ สาขาใกล้บ้านคุณ ซึ่งจะเปลี่ยนเรื่องต่อ พ.ร.บ. ที่ยุ่งยาก ให้เป็นเรื่องง่าย ๆ แถมรอรับ พ.ร.บ. ได้เลย หากสนใจสามารถปรึกษาเจ้าหน้าที่ได้เลยที่ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ กว่า 5,500 สาขาทั่วไทยหรือโทร 1652 หรือ LINE Official @srisawad

Share This