รถบรรทุกเป็นหนึ่งในประเภทยานพาหนะที่มีความสำคัญในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรม เคยสงสัยไหมว่า รถบรรทุกที่มีลักษณะแตกต่างกัน ถูกจัดประเภทการใช้งานอย่างไร และ ประเภทรถบรรทุกตามกฎหมายมีอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ
ทำความเข้าใจประเภทรถบรรทุกตามกฎหมาย
ผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมจำเป็นต้องทำความเข้าใจประเภทรถบรรทุกตามกฎหมายทั้ง 9 ประเภท เพื่อเลือกใช้งานให้เหมาะสม ไม่เช่นนั้นอาจทำให้สินค้าเสียหายระหว่างขนส่ง หรือเป็นอันตรายร้ายแรงต่อผู้ใช้ถนนท่านอื่นในกรณีเกิดเหตุไม่คาดฝัน
ประเภทรถบรรทุก 9 ประเภทในไทย มีอะไรบ้าง
การดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรม ยานพาหนะอย่างรถบรรทุกมีความสำคัญเป็นอย่างมาก และในฐานะผู้ใช้รถจำเป็นต้องเลือกประเภทรถบรรทุกที่เหมาะสมกับการใช้งาน โดยกฎหมายตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ได้กำหนดประเภทรถบรรทุก 9 ประเภทในไทยดังนี้
1. รถกระบะบรรทุก
ในบรรดาประเภทรถบรรทุก “รถกระบะบรรทุก” มีขนาดเล็กสุด จะเลือกใส่หลังคาหรือไม่ใส่ก็ได้ เหมาะนำไปใช้งานในธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เช่น บรรทุกพันธุ์ข้าว หิน ดิน หรือทราย เป็นต้น
2. รถตู้บรรทุก
ลักษณะเด่นของรถตู้บรรทุกจะมีตู้ทึบอยู่ด้านหลัง เหมาะนำไปบรรทุกสินค้าแบบตู้แห้งหรือตู้แช่เย็น เช่น สินค้าอบแห้ง สินค้าแช่แข็ง สินค้าควบคุมอุณหภูมิ โดยตู้ทึบจะมีประตูบานใหญ่ใช้สำหรับขนสินค้าขึ้นลง
3. รถบรรทุกเฉพาะกิจ
รถบรรทุกเฉพาะกิจถูกออกแบบให้สามารถบรรทุกสิ่งของที่มีลักษณะพิเศษ เช่น รถผสมปูนซีเมนต์ รถขยะมูลฝอย รถบรรทุกเครื่องดื่ม หรือรถบรรทุกของเฉพาะกิจอื่น ๆ เป็นต้น
4. รถบรรทุกของเหลว
รถบรรทุกของเหลวเป็นรถที่มีระบบความปลอดภัยสูง เพราะใช้สำหรับบรรทุกของเหลวชนิดต่าง ๆ จำเป็นต้องเพิ่มความระมัดระวังในการขนส่ง
5. รถบรรทุกวัตถุอันตราย
สำหรับรถบรรทุกวัตถุอันตรายจะคล้ายกับรถบรรทุกของเหลว เนื่องจากใช้บรรทุกสินค้าที่เป็นของเหลวเหมือนกัน แต่มีระดับความอันตรายมากกว่า เช่น แก๊ส สารเคมี น้ำมัน ส่งผลให้ประเภทรถบรรทุกนี้ จะถูกออกแบบให้ความหนาแน่นสูง เพื่อป้องกันการรั่วไหลของสินค้าที่บรรทุก
6. รถพ่วง
รถพ่วงเป็นประเภทรถบรรทุกที่ไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง บริเวณโครงรถจะติดตั้งเพลาล้อ ทำให้สามารถขับเคลื่อนไปได้โดยใช้หัวรถในการลากจูง เหมาะนำไปบรรทุกสินค้าเกษตร เช่น บรรทุกอ้อย บรรทุกมันสำปะหลัง บรรทุกดิน
7. รถกึ่งพ่วง
เป็นอีกหนึ่งประเภทรถบรรทุกที่ไม่มีแรงขับเคลื่อนด้วยตัวเอง จำเป็นต้องใช้หัวรถลากจูง ที่สำคัญส่วนหัวเทรลเลอร์และส่วนท้ายที่เรียกว่ารถพ่วงต้องช่วยกันบาลานซ์น้ำหนักสินค้าที่บรรทุก ไม่สามารถแยกกันได้
8. รถลากจูง
หน้าที่หลักของรถลากจูง คือ ช่วยลากจูงรถบรรทุกประเภทอื่น เช่น รถพ่วง รถกึ่งพ่วงที่อยู่ในสภาพชำรุดและไม่สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ หลายคนเรียกว่า รถช่วยเหลือ
9. รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว
ประเภทรถบรรทุกตามกฎหมายที่เหมาะกับบรรทุกสินค้าที่มีลักษณะยาวต้องเลือกใช้ “รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว” ลักษณะของโครงโลหะที่ถูกออกแบบให้รับน้ำหนักสินค้าจะสามารถปรับตามช่วงล้อลากจูง นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบรรทุกสินค้าแล้ว ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขนส่งได้อีกด้วย
สรุปบทความประเภทรถบรรทุก 9 ประเภท
กฎหมายตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 กำหนดให้ประเภทรถบรรทุก 9 ประเภทข้างต้นเป็นประเภทรถบรรทุกที่ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมสามารถเลือกประเภทรถบรรทุกให้เหมาะสมกับการใช้งาน จะช่วยลดความเสี่ยง เสริมความปลอดภัยระหว่างขนส่งสินค้าได้ ในกรณีธุรกิจประสบปัญหาด้านการเงิน ไม่ว่าจะต้องการเงินทุนเพิ่ม ต้องการปิดหนี้ หรือหมุนเงินไม่ทัน สินเชื่อรถบรรทุก จาก ศรีสวัสดิ์ ช่วยแก้ไขทุกปัญหา พร้อมอนุมัติวงเงินสูงให้กับคุณ
สำหรับผู้ที่สนใจสินเชื่อรถบรรทุก สามารถเข้ามาปรึกษาเจ้าหน้าที่ ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือโทร. 1652 กดแอด LINE Official : @srisawad พร้อมทั้งสามารถติดตามรายละเอียดผลิตภัณฑ์หรือโปรโมชันได้ที่เว็บไซต์ www.sawad.co.th ที่พร้อมดูแลลูกค้าทุกคนได้อย่างดีที่สุด
หมายเหตุ
*สินเชื่อรถบรรทุก อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 19.66% – 24.00% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนสูงสุด 54 งวด
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
* เงื่อนไขอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด