เข้าสู่ฤดูเปิดเทอมสำหรับนักศึกษา ที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ก็ได้ทยอยเปิดภาคเรียนกันไปบ้างแล้ว ในช่วงนี้ค่าเทอมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็อาจกลายเป็นภาระที่หนักหน่วงสำหรับครอบครัว การวางแผนการเงินอย่างมีระบบจึงจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้สามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้อย่างราบรื่น บทความนี้ ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ จะมานำเสนอวิธีการและเคล็ดลับในการวางแผนการเงินสำหรับจ่ายค่าเทอมมหาวิทยาลัย ทั้งการเตรียมงบประมาณ การหาทุนการศึกษา และการจัดการหนี้สิน เพื่อให้นักศึกษาและครอบครัวสามารถมุ่งเน้นการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการเงินอีกต่อไป
1: ประเมินค่าใช้จ่ายทั้งหมดและจัดทำงบรายเดือน
ส่วนมากเมื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัย มักมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ค่าเทอม (Tuition Fees): รวมค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมที่อาจมี เช่น ค่าลงทะเบียน ค่ากิจกรรมพิเศษ ค่าใช้จ่ายสำหรับหนังสือเรียน เอกสารประกอบการเรียน และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป และซอฟต์แวร์ที่จำเป็น
- ค่าที่พัก (Accommodation): เปรียบเทียบราคาที่พักภายในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงพิจารณาค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต และหากพักอยู่นอกมหาวิทยาลัยอย่าลืมคำนวณค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปกลับจากที่พักไปยังมหาวิทยาลัยด้วย
- ค่าใช้จ่ายส่วนตัว (Personal Expenses): ได้แก่ ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าเสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัว เป็นต้น
เมื่อได้รายการและคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว จะเข้าสู่การจัดทำงบประมาณรายเดือน ซึ่งมีขั้นตอน ดังต่อไปนี้
- การบันทึกรายรับและรายจ่าย: รวบรวมข้อมูลรายรับทุกช่องทาง เช่น เงินสนับสนุนจากครอบครัว ทุนการศึกษา รายได้จากการทำงานพาร์ทไทม์ บันทึกค่าใช้จ่ายประจำทุกเดือนและค่าใช้จ่ายที่ไม่แน่นอน
- การจัดสรรเงิน: แบ่งงบประมาณเป็นหมวดหมู่ เช่น ค่าเทอม ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าที่พัก ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายส่วนตัว แล้วกำหนดวงเงินที่ใช้ในแต่ละหมวดหมู่ และ พยายามรักษาวงเงินไม่ให้เกินกว่าที่กำหนด
- ตรวจสอบและวิเคราะห์รายจ่ายทุกเดือน: เพื่อดูว่ามีค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นหรือไม่ จะสามารถลดค่าใช้จ่ายเรื่องอะไรลงได้บ้าง แล้วปรับปรุงงบของเราตามสถานการณ์
2: หาทุนการศึกษาและแหล่งเงินสนับสนุน
- ทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัย หรือ คณะที่เรียนอยู่ ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นมีทุนการศึกษาหลากหลายประเภท และข้อกำหนดในการสมัครรับทุนที่แตกต่างกันไป เช่น ทุนสำหรับนักศึกษาเรียนดี ที่กำหนดเกรดเฉลี่ยขั้นต่ำในการขอทุน, ทุนสำหรับนักศึกษาที่ช่วยงานคณะ, ทุนช่วยเหลือค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพ หรือ ทุนสำหรับงานวิจัย เป็นต้น
- ทุนการศึกษาจากภาครัฐและเอกชน เช่น ทุนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน ทุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ทุน สกอ.) ทุนของบริษัทห้างร้าน สถาบันการเงิน หรือมูลนิธิต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งประเภททุนเต็มจำนวน และ ทุนสนับสนุนบางส่วน เป็นต้น
- เงินกู้ยืมเงินทางการศึกษา เช่น กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.), กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.), สินเชื่อเพื่อการศึกษาของธนาคารต่าง ๆ หรือ สินเชื่อจากสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น สินเชื่อรถแลกเงิน จาก ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ ที่สามารถนำรถยนต์มาแลกเงินได้ในวงเงินสูง ด้วยอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 1.00% ต่อเดือน ซึ่งสามารถขอกู้ได้โดยไม่ต้องใช้คนค้ำและไม่ต้องโอนเล่มทะเบียน เพียงเป็นบุคคลสัญชาติไทย อายุ 20-65 ปี ที่มีรถยนต์อายุไม่เกิน 20 ปี ระบะเวลาผ่อนสูงสุด 54 งวด ทำให้สามารถบริหารค่าเทอมและค่าใช้จ่ายได้อย่างมั่นใจ พร้อมเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินได้ดี
3.การบริหารจัดการหนี้สินสำหรับนักศึกษา
สำหรับคนที่กู้เงินเรียน ควรจัดทำรายการหนี้สินทั้งหมด รวมถึงยอดหนี้ ดอกเบี้ย และระยะเวลาชำระหนี้ กำหนดเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวในการชำระหนี้ เช่น เลือกชำระหนี้ที่มี ดอกเบี้ยสูงก่อน หรือ วงเงินที่สามารถปิดได้ก่อน พิจารณาแผนการชำระหนี้ที่มีอยู่ เช่น เป็นหนี้แบบดอกเบี้ยรายเดือนคงที่ หรือเป็นหนี้แบบลดต้นลดดอก ศึกษาข้อดีและข้อเสียของแต่ละแผน เพื่อเลือกแผนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของตนเอง
นอกจากนี้ควรติดตามและตรวจสอบความก้าวหน้าในการชำระหนี้อย่างสม่ำเสมอ อาจใช้เครื่องมือทางการเงิน เช่น ตารางชำระหนี้ หรือแอปพลิเคชันจัดการหนี้สิน เพื่อช่วยในการติดตาม รวมถึงปรับปรุงแผนการชำระหนี้เงินกู้เพื่อการศึกษาตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เช่น หากมีรายได้เพิ่มขึ้น เช่น จากการขายของออนไลน์ รับสอนพิเศษตามบ้าน เป็นอินฟลูเอนเซอร์ หรือ ทำงานพาร์ทไทม์ เป็นต้น
4. ออมเงินระหว่างการเรียน
- ตั้งเป้าหมายการออม: ควรเป็นเป้าหมายที่ชัดเจนและสามารถวัดผลได้ เช่น ออมเงินเพื่อจ่ายค่าเทอม หรือ ออมเงินเพื่อซื้ออุปกรณ์การเรียน อย่าลืมกำหนดระยะเวลาในการบรรลุเป้าหมายและแบ่งเป้าหมายใหญ่เป็นเป้าหมายย่อยเพื่อให้เกิดกำลังใจในการออม เช่น เป้าหมายหลักคือการซื้อคอมพิวเตอร์ไว้ใช้ในการเรียนและการทำงานเสริม 25,000 บาท ส่วนเป้าหมายรองคือการเก็บเงินได้ 5,000 บาทแรก เป็นต้น
- สร้างวินัยในการออม: กำหนดวงเงินที่ต้องการออมในแต่ละเดือน และฝากเงินเข้าสู่บัญชีออมทรัพย์พิเศษดอกเบี้ยสูง หรือ บัญชีฝากประจำทันทีที่ได้รับรายได้ หรือ ได้ค่าขนมมาในแต่ละเดือน พยายามหลีกเลี่ยงการใช้เงินที่ออมไว้ ยกเว้นในกรณีฉุกเฉินจริง ๆ เท่านั้น
- ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น: ตรวจสอบและวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายประจำวัน เพื่อหลีกเลี่ยงการซื้อของที่ไม่จำเป็น ใช้ประโยชน์จากโปรโมชั่นและส่วนลดที่มีอยู่ เช่น ส่วนลดนักศึกษา หรือโปรโมชันพิเศษจากร้านค้า
- หาช่องทางออมเงินเพิ่ม: เช่น การลงทุนในกองทุนรวม หรือการออมเงินในบัญชีที่มีดอกเบี้ยสูง
- ใช้เครื่องมือช่วยในการออม: ติดตั้งระบบอัตโนมัติในแอปพลิเคชันของธนาคารสำหรับหักเงินจากบัญชีรายเดือนและฝากเข้าสู่บัญชีออมทรัพย์ หรือใช้แอปพลิเคชันออมเงินที่ช่วยในการติดตามและบริหารการออม
สำหรับใครที่สนใจสินเชื่อสำหรับกู้เงินเรียน สามารถ สมัครสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำ จากศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจได้ เพียงมีทรัพย์สิน เช่น รถมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ รถไถ รถบรรทุก หรือ โฉนดบ้าน ที่ดิน และคอนโด โดยใช้กระบวนการเตรียมเอกสารง่าย ไม่ยุ่งยาก พร้อมอนุมัติไว สนใจสมัครได้ทาง แอปพลิเคชัน หรือที่ ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ สัญลักษณ์ ศ.ศาลาสีส้ม ทั่วประเทศไทย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริการลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 1652 หรือ LINE Official @srisawad
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
*เงื่อนไขอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด