การต่อเติมบ้าน หรือ ซ่อมแซมรีโนเวทบ้าน นั้นเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนรอบ ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็น การต่อเติมโรงรถ ครัวไทยที่ยื่นออกมา หรือ ห้องนอนสำหรับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ การต่อเติมบ้านก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายท้องถิ่นและกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย วันนี้ ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ จะมาสรุปอัปเดตวิธีในการต่อเติมบ้านที่ควรรู้ เพื่อป้องกันความเสียหายและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
1) ศึกษากฎหมายต่อเติมและรีโนเวทบ้าน
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อเติมบ้านโดยตรงมีใน พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 และ 39 ทวิ ซึ่งระบุว่า การจะดัดแปลงหรือต่อเติมอาคารจำเป็นต้องแจ้งและได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเสมอก่อนเริ่มดำเนินการ โดยต้องยื่นแบบแปลนและระบุชื่อของสถาปนิกและวิศวกรที่รับผิดชอบงานให้เจ้าหน้าที่ทราบด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าการต่อเติมนั้นถูกดำเนินการตามกฎหมายและมีความปลอดภัยทั้งสำหรับเจ้าของบ้านและชุมชนโดยรอบ
- ห้ามใช้พื้นที่ดินเกิน 60% ของพื้นที่ดินทั้งหมด (กรณีไม่รวมถนน)
- ห้ามใช้พื้นที่ดินเกิน 80% ของพื้นที่ดินทั้งหมด (กรณีรวมถนน)
- ต้องมีพื้นที่ว่างเหลือไม่น้อยกว่า 30% ของพื้นที่ดินทั้งหมด (ไม่รวมถนน) เพื่อให้สามารถระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้
- อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ที่เว้นว่างอาคารที่มีหน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศ ช่องแสงหรือระเบียงอาคาร จะต้องห่างกับเขตที่ดิน อย่างน้อย 2 เมตร
จากกฎหมายที่กล่าวมานี้ หากเจ้าของบ้านไม่ปฏิบัติตามแล้วมีผู้ร้องเรียน เจ้าของบ้านจะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และผู้ที่ต้องการต่อเติมบ้านจำเป็นต้องได้รับการยินยอมจากเพื่อนบ้านข้างเคียงก่อนที่จะดำเนินการต่อเติม เพื่อลดผลกระทบและช่วยลดความขัดแย้งต่อเพื่อนบ้านได้อีกด้วย
2) ต่อเติมบ้านต้องลงเสาเข็มแบบไหน
พื้นที่ในเขตกรุงเทพ และ ปริมณฑล ส่วนใหญ่เป็นชั้นดินอ่อน ก่อนทำการต่อเติมควรลงเสาเข็ม โดยความยาวเสาเข็มที่นิยมต่อเติมในเขตนี้ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 1-6 เมตร เหมาะกับการต่อเติมครัวหลังบ้านจัดสรร และ การต่อเติมเพียงชั้นเดียว แต่มีข้อเสียคือทำให้ส่วนต่อเติมทรุดเร็วกว่าตัวบ้าน เพราะตัวเสายังอยู่ในชั้นดินอ่อน ขณะที่เสาเข็มอีกแบบคือเสาเข็มแบบไมโครไพล์ สามารถมานำมาตอกต่อกันให้ลึกถึงชั้นดินแข็งได้ เหมาะกับการแก้ปัญหาส่วนต่อเติมบ้านทรุด แต่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ในส่วนพื้นที่ต่างจังหวัดที่เป็นพื้นดินแข็ง สามารถเทฟุตติ้งหนา 30-40 เซนติเมตร แทนการลงเสาเข็มได้
3) ระวังเรื่องรอยต่อระหว่างของเดิมและส่วนต่อเติมใหม่
การที่เราจะต่อเติมบ้านออกมา สิ่งหนึ่งที่ต้องระวังเลยก็คือ ห้ามยึดส่วนต่อเติมเข้ากับโครงสร้างบ้านเดิมเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นเสาเข็ม เสาบ้าน หรือ คานบ้าน เพราะเมื่อส่วนต่อเติมมีการทรุดตัว จะได้ไม่กระทบกับบ้านหลัก การเก็บงานรอยต่อระหว่างของเดิมและส่วนต่อเติมใหม่ ได้แก่
หลังคา ควรตั้งเสาแยกออกมาจากตัวบ้านเดิม แล้วใช้แผ่นเมทัลชีตกันน้ำเข้าตรงรอยต่อระหว่างหลังตากับตัวบ้าน หากฝ้าเพดานของส่วนต่อเติมชนกับผนังของบ้านเดิม สามารถใช้บัวฝ้าเพดานปิดรอยต่อเพื่อความสวยงามได้
พื้น และ ผนัง ควรอุดรอยต่อด้วยวัสดุที่มีความยืดหยุ่น เช่น พอลิยูรีเทน (PU) หรือ ซิลิโคน ยาแนวแล้วใช้ไม้ปิด
4) ต่อเติมครัวหลังบ้าน
หากพื้นที่ติดกับบ้านอื่น ต้องระวังเรื่องการระบายน้ำฝน ควรทำรางน้ำจากชายคา ต่อท่อตรงลงมาที่ท่อพักเพื่อให้ระบายน้ำได้รวดเร็ว ควรแยกโครงสร้างส่วนครัวที่ต่อเติมใหม่ออกจากโครงสร้างบ้านเดิมและรั้ว โดยลงเสาเข็มใหม่ ตั้งเสาและก่อผนังใหม่ และเว้นระยะ 50 เซนติเมตรจากรั้ว ทำช่องระบายให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเทได้
5) ที่จอดรถ
หากมีรถมากกว่า 2 คัน ที่จอดรถควรมีเสากลางรับน้ำหนัก หลังคาที่ยาวขึ้นสำหรับพื้นที่จอดรถต่อหนึ่งคัน ควรมีขนาดอย่างน้อย 2.5 x 5 เมตร กรณีใช้รถใหญ่ เช่น รถตู้ รถกระบะ ควรเผื่อขนาดเป็น 3 x 6 เมตร
สำหรับผู้ที่ต้องการเงินกู้ต่อเติมบ้านหรือรีโนเวทบ้านให้แข็งแรงยิ่งขึ้น แล้วต้องการเงินก้อนมาต่อเติมบ้าน สามารถขอ สินเชื่อบ้านแลกเงิน จาก “ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ” ด้วยอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 1.25% ต่อเดือน ระยะเวลาผ่อน 12 งวด หากสนใจสามารถปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ กว่า 5,500 สาขาใกล้บ้านคุณ หรือลองโทรศัพท์มาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 1652 หรือ LINE Official @srisawad
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
*เงื่อนไขอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด