รถแทรกเตอร์ เป็นหนึ่งเครื่องทุ่นแรง ที่ช่วยให้กิจกรรมทางเกษตรและอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างราบรื่น การใช้งานรถแทรกเตอร์มีความสำคัญมากในการปรับปรุงผลผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราต้องการเพาะปลูกให้ทันฤดูกาลและให้ได้ผล ผลิตที่เพียงพอกับการบริโภคและนำไปจำหน่าย รถแทรกเตอร์จึงจัดเป็นเครื่องมือที่ในการทำงานต่างๆ ของเกษตรกรได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการไถเตรียมพื้นที่เพาะปลูก การปลูก การดูแลรักษา ตลอดจนการเก็บเกี่ยวและเคลื่อนย้ายผลผลิต ลองมาดูแบบละเอียดกันดีกว่า ว่ารถแทรกเตอร์แต่ละประเภทมีประโยชน์การใช้งานอะไรบ้าง
1. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำฟาร์ม (farm tractor)
รถแทรกเตอร์สำหรับทำการเกษตร หรือ farm tractor เป็นยานพาหนะในไร่นาที่ช่วยในการผลิตพลังงานกลพร้อมทั้งออกแรงดึงโดยการใช้เครื่องยนต์สำหรับการเกษตร โดยจะมีเครื่องการเกษตรพ่วงอยู่ด้านหลังหรืออาจจะผูกติดกับตัวรถแทรกเตอร์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำฟาร์มได้ ในเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้
- ช่วยลดเวลาและแรงงานที่ต้องใช้ในการเตรียมดินและการปลูกพืช
- ช่วยในการเพราะดิน หว่านเมล็ดพืช และรดน้ำอัตโนมัติ เพื่อลดความเมื่อยล้าของเกษตรกรและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- รถแทรกเตอร์แบบ Low Profile เป็นรถแทรกเตอร์รุ่นแรก ๆ ที่ถูกออกแบบมาสำหรับทำงานในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด เช่น ในสวนผลไม้ ป่าละเมาะ รถประเภทนี้จะมีช่องว่างระหว่างช่วงท้องด้านล่างกับพื้นดินน้อยกว่าทุกแบบ เพื่อความสะดวกในการทรงตัวและการบังคับรถ
- รถแทรกเตอร์แบบ High Clearance เป็นรถแทรกเตอร์ที่เพลาล้อหน้าสามารถปรับขยายได้และ ช่วงระหว่างท้องรถแทรกเตอร์ ด้านล่างกับพื้นดินมีมากกว่าแบบอื่นๆ เหมาะสำหรับใช้งานในพื้นที่ปลูกพืชต้น สูง อาทิ อ้อย ข้าวโพด เพราะรถสามารถวิ่งเข้าไปทำงานในระหว่างแถวพืช ได้โดยไม่ทำให้ต้นพืชหัก
2. ประโยชน์ของรถแทรกเตอร์ในงานก่อสร้าง
รถแทรกเตอร์ประเภทนี้ มักเป็นแบบตีนตะขาบ หรือ Bulldozer Tractor ลักษณะล้อเป็นเหล็กแบนเชื่อมต่อกันด้วยน๊อตเป็นแผ่นยาว ทำให้พื้นผิวสัมผัสดินมาก มีแรงในการขับเคลื่อนสูง เหมาะสำหรับลากเครื่องทุ่นแรงขนาดใหญ่ และทำงานในพื้นที่กว้าง ซึ่งช่วยในงานก่อสร้าง ดังนี้
- เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการขุดหลุมและพื้นที่สำหรับการก่อสร้างโครงการใหญ่ เช่น การก่อสร้างถนน อาคาร หรือโครงการพื้นฐานอื่น ๆ
- สามารถใช้กำลังในการขับเคลื่อนได้สูง เนื่องจากจะไม่เกิดการลื่นไถลได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำงานบนพื้นที่ไม่แน่นอน
- สามารถทำงานบนพื้นที่เป็นดินและบริเวณที่มีหินแหลมคมได้ เพราะไม่ทำให้ชุดสายพานตีนตะขาบชำรุดได้ง่าย
- ลดค่าใช้จ่ายในการเตรียมพื้นที่ในการทำงาน เพราะสามารถทำงานในพื้นที่ขรุขระได้ดี
3. การใช้ในการดูแลรักษาพื้นที่
มักเป็นรถแทรกเตอร์ที่เครื่องยนต์มีกำลังม้า (แรงม้า) ระหว่าง 60 – 100 แรงม้า นับว่าเป็นรถแทรกเตอร์ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีแรงม้าในการฉุดลากสูง เหมาะสำหรับกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการใช้รถแทรกเตอร์ในการทำงานในพื้นที่ขนาดใหญ่
- รถแทรกเตอร์สามารถใช้ในการดูแลรักษาพื้นที่ที่ใหญ่โดยการตัดหญ้า หรือ ตัดพืชที่ไม่พึงประสงค์อื่น ๆ เช่น ในสวนสาธารณะ สนามกอล์ฟ หรือพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ
4. เปลี่ยนรถแทรกเตอร์เป็นเงินทุนหมุนเวียน
สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่ต้องการใช้เงินสด เงินก้อน และเงินด่วนในการต่อยอดให้แก่ธุรกิจ ปลดหนี้สิน หรือเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายทั่วไป สมัครง่าย ได้วงเงินสูง เพียงแค่มีรถเพื่อการเกษตร เช่น รถแทรกเตอร์ รถไถ หรือรถเกี่ยวข้าว ก็สามารถนำมาเปลี่ยนเป็นเงินได้ แถมเลือกผ่อนได้ตามอัตราที่ตัวเองผ่อนชำระได้ในแต่ละเดือน
- ดอกเบี้ยเริ่มเต้นเพียง 1.00% ต่อเดือน อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 21.42% – 24% ต่อปี
- ระยะเวลาการผ่อนสูงสุด 36 งวด
- ไม่ต้องใช้สลิป ไม่ต้องใช้คนค้ำประกัน
จะเห็นได้ว่า รถแทรกเตอร์ มีบทบาทสำคัญในการลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในกิจกรรมทางการเกษตร การก่อสร้าง การดูแลรักษาพื้นที่ นอกจากนี้รถแทรกเตอร์ยังสามารถเปลี่ยนเป็นเงินทุนทางการเกษตร สำหรับธุรกิจของคุณได้อีกด้วย สำหรับคนที่สนใจ สามารถติดต่อ ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ มากกว่า 5,500 สาขาทั่วไทยใกล้บ้านคุณ หรือ สมัครผ่านทางแอปพลิเคชั่นศรีสวัสดิ์ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่โทร 1652 หรือ LINE Official @srisawad