เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องใช้เงินสดด่วน การศึกษาและทำความเข้าใจการกู้เงินประเภทต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งเมื่อคุณพบการกู้เงินแบบที่เหมาะกับตัวเองแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการจำนอง จำนำ หรือการขอสินเชื่อประเภทต่าง ๆ นอกจากที่จะต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือและเงื่อนไขที่สามารถให้เงินในจำนวนที่หวังได้แล้ว ประเภทของดอกเบี้ยภายใต้สัญญาเงินกู้นั้น ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเช่นกัน เพราะหากเราเซ็นเอกสารไปโดยที่ไม่รู้ถึงความแตกต่างของดอกเบี้ยแต่ละตัว แทนที่จะมีเงินมาไว้ใช้จ่ายอย่างสบาย เราอาจจะต้องเสียดอกเบี้ยทบเงินต้นในจำนวนที่สูงมากกว่าที่คิดก็เป็นได้
และในวันนี้ ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ จะพาทุกคนไปรู้จักกับดอกเบี้ยเงินกู้ 3 ประเภทที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แล้วดอกเบี้ยแต่ละประเภทจะมีรายละเอียดอย่างไร มาทำความเข้าใจไปพร้อมกันเลย
1. อัตราดอกเบี้ยประเภทลดต้นลดดอก (Effective Rate)
อัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอกถือเป็นอีกหนึ่งประเภทดอกเบี้ยที่หลายคนที่เคยขอสินเชื่อรู้จักเป็นอย่างดี โดยดอกเบี้ยประเภทนี้จะให้เราจ่ายเงินค่างวดเพื่อลดจำนวนเงินต้น ซึ่งเมื่อเงินต้นลดลง อัตราดอกเบี้ยที่จะจ่ายในงวดต่อ ๆ ไปก็จะลดลงตามไปด้วย ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประเภทนี้ช่วงต้นสัญญาอาจจะมีการตัดชำระดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง แต่หากมองในระยะยาวแล้ว ดอกเบี้ยประเภทนี้ก็เหมือนกับสำนวนไทยที่ว่า “อดเปรี้ยวไว้กินหวาน” เพราะ เมื่อเวลาผ่านไป ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนก็จะยิ่งถูกลงเรื่อย ๆ ทำให้ปิดหนี้เงินกู้ได้ไวขึ้น ซึ่งนั่นก็จะช่วยให้เราแบ่งเบาภาระเรื่องหนี้สินได้ในระยะยาว ที่สำคัญ สถาบันการเงินบางแห่งยังสามารถให้เรานำเงินก้อนมาโปะหนี้ได้โดยมีค่าธรรมเนียมการปิดบัญชีที่น้อยหรือไม่มีเลย โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและสัญญาที่ตกลงกันไว้
เงินกู้แบบใดถึงจะเจอดอกเบี้ยประเภทนี้?
มีวิธีการคำนวณอย่างไร?
โดยทั่วไปแล้ว การคิดเงินกู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกนั้นจะแบ่งการคำนวณเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : คิดดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย
ขั้นตอนที่ 2 : เริ่มคำนวณเงินต้นที่ลดลงในแต่ละงวดก่อน
เงินต้นที่ลดลงในแต่ละงวด = จำนวนเงินที่ต้องจ่ายทั้งหมดในงวดนั้น – ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดนั้น
ขั้นตอนที่ 3 : คำนวณเงินต้นที่เหลือ
เงินต้นคงเหลือ = เงินต้นคงเหลือจากงวดก่อน – เงินต้นลดลง
ลองคำนวณก่อนกู้เงินตามตัวอย่างต่อไปนี้
จะเห็นได้ว่า เงินต้นที่นำมาคิดดอกเบี้ยก็จะทยอยลดลงตามไปด้วยและทำให้ภาระในแต่ละเดือนลดลง และทางสถาบันการเงินเองก็จะคิดดอกเบี้ยแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าเราจะปิดหนี้ได้นั่นเอง
2. อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ (Fixed Rate)
อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่จะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนแบบตายตัว และไม่มีการปรับขึ้นลงตามนโยบายหรือต้นทุนของสถาบันการเงินตลอดอายุเงื่อนไขที่ตกลงในสัญญาเงินกู้เอาไว้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ดอกเบี้ยประเภทนี้จะไม่สามารถนำเงินก้อนมาโปะหนี้ได้ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ผู้กู้จะต้องจ่ายค่างวดตามระยะเวลาและเงินที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ซึ่งโดยปกติ อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่จะมีระยะการชำระหนี้ที่ไม่ยาวมาก ขึ้นอยู่กับความต้องการ จำนวนเงิน และความสามารถในการชำระหนี้ของบุคคล
เงินกู้แบบใดถึงจะเจอดอกเบี้ยประเภทนี้?
มีวิธีการคำนวณอย่างไร?
การคำนวณเงินกู้ที่ใช้ดอกเบี้ยอัตราคงที่นั้นจะต้องแบ่งขั้นตอนการคำนวณออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : คำนวณดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมด
ดอกเบี้ยทั้งหมด = เงินต้น x อัตราดอกเบี้ยคงที่ (ต่อปี) x ระยะเวลา (ปี)
ขั้นตอนที่ 2 : จำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละงวด
ลองคำนวณก่อนกู้เงินตามตัวอย่างต่อไปนี้
สถานการณ์สมมติ หากต้องการกู้เงินจำนวน 500,000 บาทเพื่อซื้อรถยนต์ และสถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยอัตราคงที่ที่ 3% ต่อปี และมีกำหนดในผ่อน 5 ปี หรือ 60 เดือน เราจะคิดค่างวดได้ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : คิดดอกเบี้ยทั้งหมด
ตามสูตรด้านบน เราจะคิดเป็น 500,000 x 3% x 5 ปี = 75,000 บาท
ขั้นตอนที่ 2 : จำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละงวด
ตามสูตรด้านบน เราจะคิดเป็น (500,000 + 75,000) /60 งวด = 9583.33 บาท / งวด
จะเห็นได้ว่า ผู้กู้จะต้องจ่ายค่างวดในอัตราที่เท่ากันทุกเดือนไปจนกว่าจะครบสัญญา ซึ่งเงินกู้ที่ใช้ดอกเบี้ยในลักษณะนี้จะทำให้ง่ายต่อการวางแผนค่าใช้จ่ายรายเดือน และไม่ต้องมาวิตกว่าแต่ละเดือนธนาคารจะมีนโยบายเพิ่มหรือลดดอกเบี้ยให้ปวดหัวหรือไม่
3. อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating Rate)
อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามนโยบายรวมถึงต้นทุนของสถาบันการเงิน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว สถาบันการเงินจะทำการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามการขึ้นลงของเศรษฐกิจและจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงให้ได้ทราบก่อนทุกครั้ง
เงินกู้แบบใดถึงจะเจอดอกเบี้ยประเภทนี้?
นอกจากภาวะเศรษฐกิจจะเป็นปัจจัยสำคัญแล้ว สถาบันการเงินยังคิดดอกเบี้ยที่แตกต่างกันไปตามลักษณะผู้กู้และจุดประสงค์ของการกู้เงินอีกด้วย โดยหลัก ๆ แล้ว จะสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวที่สถาบันการเงินจะเก็บกับลูกค้าที่มีประวัติทางการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และมีความน่าเชื่อสูง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะคิดในสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจเป็นหลัก
- MOR (Minimum Overdraft Rate)
จะเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวที่จะเก็บกับลูกค้าประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี หรือ O/D (Overdraft) ซึ่งสถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยก็ต่อเมื่อผู้กู้เบิกเงินเกินวงเงินออกมาใช้ และจะคิดดอกเบี้ยในส่วนที่เบิกเกินออกมา และจะหยุดคิดทันทีที่มีการจ่ายเงินส่วนเกินดังกล่าว ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ดอกเบี้ยประเภทนี้จะเป็นสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ
- MRR (Minimum Retail Rate)
คือ อัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่สถาบันการเงินจะเก็บกับลูกค้ารายย่อยหรือบุคคลธรรมดาเมื่อมีการทำสินเชื่อประเภทต่าง ๆ เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูงเป็นทุนเดิม และจะปรับตัวก็ต่อเมื่อมีนโยบายจากสถาบันการเงิน
มีวิธีการคำนวณอย่างไร?
แต่ละสถาบันการเงินจะมีเงื่อนไขการคำนวณดอกเบี้ยแบบลอยตัวที่แตกต่างกันออกไป โดยเราสามารถพิจารณาเทียบกันในหลาย ๆ ด้าน เช่น ดอกเบี้ย ระยะเวลาชำระ ความน่าเชื่อถือ และเงื่อนไขของแต่ละสถาบันการเงิน
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หลายคนอาจมองว่าดอกเบี้ยประเภทนี้อันตราย แต่ศรีสวัสดิ์อยากแนะนำว่า ถึงจะดูคาดการณ์ไม่ได้แค่ไหน แต่เราสามารถเช็กความผันผวนของดอกเบี้ยของสถาบันการเงินย้อนหลังและเลือกทำสัญญาเงินกู้กับประเภทดอกเบี้ยที่มีความผันผวนน้อยได้ ซึ่งนั่นก็หมายความว่า เรายังมีโอกาสที่จะควบคุมและจัดการหนี้สินของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จะรู้ได้อย่างไรว่าควรเลือกดอกเบี้ยประเภทไหน?
ไม่ว่าจะเป็นการทำสัญญาเงินกู้หรือสินเชื่อประเภทไหน การตัดสินใจเลือกประเภทดอกเบี้ยในสัญญานั้นควรจะพิจารณาจาก “เงื่อนไข” ของสถาบันการเงินเป็นหลักว่าสินเชื่อที่เราสนใจนั้นใช้ดอกเบี้ยประเภทใดในการคิด และเมื่อทำความเข้าใจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ต้องพิจารณาควบคู่กับการเลือกประเภทดอกเบี้ยก็คือ “ความสามารถในการผ่อนชำระ” และ “วินัยในการใช้จ่ายเงิน” เพราะ ถ้าหากควบคุมสิ่งเหล่านี้ไม่ดีพอ การจ่ายค่างวดก็อาจมีปัญหาและทำให้ดอกเบี้ยบานปลายจนกลายเป็นหนี้สะสมที่เพิ่มสูงขึ้น
เป็นอย่างไรกันบ้าง? หวังว่าข้อมูลที่นำมาฝากจะช่วยให้หลาย ๆ คนคลายสงสัยและรู้เท่าทันดอกเบี้ยประเภทต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจเลือกเซ็นสัญญาเงินกู้บ้างนะ แต่ถ้าหากใครอยากได้เงินสดไปหมุนเวียนเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ สามารถติดต่อสอบถามการสมัครสินเชื่อกับศรีสวัสดิ์เพื่อรับเงินสดทันใจ ไปหมุนเวียนได้อย่างทันท่วงที ไม่ต้องมีคนค้ำ เลือกผ่อนได้ตามกำลังที่ไหว ติดต่อสอบถามได้ที่ 1652 หรือหากต้องการข้อมูลทันใจคลิกที่นี่
กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
*สินเชื่อบ้านที่ดิน อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 14.61% – 15.00% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนสูงสุด 72 งวด
*เงื่อนไขอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด